ความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงของหลอดเลือดหัวใจ ต่อโครงการสุขภาพหัวใจดีที่บ้าน : กรณีศึกษาศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นุศราพร เกษสมบูรณ์*, ภัทรพร ตั้งสุจริตคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; โทรศัพท์ 043-202-378 โทรสาร 043-202-379; e-mail: nustat@kku.ac.th
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับเข้าร่วมโครงการสุขภาพหัวใจดีที่บ้านของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงของหลอดเลือดหัวใจที่มารับบริการ ที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงของหลอดเลือดหัวใจและ/หรือผู้ที่จ่ายค่าสมัครเข้าร่วมโครงการสุขภาพหัวใจดีที่บ้านให้แก่ผู้ป่วย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ความเต็มใจที่จะจ่ายด้วยเทคนิค Modified bidding game ในผู้ป่วยหรือญาติจำนวน 56 คน ที่มารับบริการระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเมษายน 2548 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สนใจเข้าร่วมโครงการ (ร้อยละ 87.5) ส่วนค่ามัธยฐานของความเต็มใจที่จะจ่าย เท่ากับ 500 บาทต่อปี ค่าพิสัยของควอไทล์ที่ 1 และ 3 เท่ากับ 700 บาทต่อปี ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า สถานภาพสมรส และรายได้ของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับความเต็มใจที่จะจ่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุ (R2) ร้อยละ 34.2
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2551, July-December
ปีที่: 4 ฉบับที่ 2 หน้า 36-45
คำสำคัญ
Contingent valuation method, Coronary artery bypass graft, Willingness to pay, ความเต็มใจที่จะจ่าย, ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงของหลอดเลือดหัวใจ, วิธีการประเมินคุณค่าของเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น