การเปรียบเทียบผลการบรรเทาปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิระหว่างการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าชนิดทีอีเอ็นเอส (TENS) กับยาระงับปวด: การศึกษานำร่องในกลุ่มนักศึกษากายภาพบำบัด คณเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ณัฐชา ศรีใหญ่, รัชนี มูลตรี, สมชาย รัตนทองคำ*, สุลาลัย เหลาเจริญ
Division of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University; e-mail: somch_ra@kku.ac.th
บทคัดย่อ
การใช้กระแสไฟฟ้าทีอีเอ็นเอส (TENS) เพื่อการระงับปวดทางกายภาพบำบัดมีการใช้อย่างแพร่หลาย แต่ยังไม่มีข้อสรุปถึงผลของ low frequency TENS ต่อการระงับปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการบรรเทาปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิระหว่างการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า low frequency TENS กับยาบรรเทาปวดที่ใช้ประจำ ในอาสาสมัครนักศึกษากายภาพบำบัดหญิงที่มีสุขภาพดีจำนวน 15 คน ระหว่าง 18-22 ปี (เฉลี่ย 20.1 ± 1.0 ปี) ที่มีค่าคะแนนความปวดไม่น้อยกว่า 8 และไม่มีความผิดปกติของอุ้งเชิงกราน จับสลากแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก (8 คน) ได้รับ TENS เพื่อการบรรเทาอาการปวดในเดือนแรก และได้รับยาในเดือนถัดไป ส่วนอีกกลุ่ม (7 คน) ได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการปวดในเดือนแรกและได้รับยาเพื่อการบรรเทาอาการปวดในเดือนแรกและได้รับ TENS ในเดือนถัดไป กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า TENS ทำโดยการติดขั้วกระตุ้น 2 ชุด (4 ขั้ว) ที่บริเวณแนวสันหลังระดับ T12-L1 (2 ขั้ว) และ S2-3 (2 ขั้ว) ห่างจากแนวสันหลังข้างละ 3 เซนติเมตร ปรับกระแสไฟฟ้าให้มีช่วงกระตุ้น 200 นาโนเมตร ความถี่ 4 เฮิรทซ์ ระดับความแรงกระแสสูงสุดที่อาสาสมัครทนได้ นาน 30 นาที ใน 24 ชั่วโมงแรกของการมีประจำเดือน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบดำเนินการเหมือนเดิมทุกครั้งที่ปวดประจำเดือน ประเมินความรู้สึกปวดด้วย VAS ก่อน ระหว่างและหลังการรักษาในนาทีที่ 0, 30, 60, 90, 150, 240, 360 ตามลำดับ นำข้อมูลทั้งสองกลุ่มวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าคะแนนความปวดก่อนและหลังกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า TENS และใช้ยา มีค่า 8.87 ± 0.88, 3.33 ± 1.45, 2.67 ± 1.24, 2.60 ± 1.06, 2.67 ± 1.18, 3.13 ± 1.36, 3.36 ±1.28  และ 7.67 ± 1.50, 3.00 ± 1.13, 2.67 ± 1.23, 2.73 ± 1.22, 2.8 ± 1.37, 3.0 ± 1.46, และ  3.33 ± 1.23 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าคะแนนความปวดระหว่างในนาทีที่ 0 และนาทีที่ 30  (หยุดกระตุ้นไฟฟ้าทันที/ หลังใช้ยา 30 นาที) ภายในแต่ละกลุ่ม (ทั้งกลุ่มที่ใช้ TENS และที่ใช้ยา) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) แต่มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม ส่วนค่าคะแนนความปวดระหว่างนาทีที่ 60, 90, 150, 240 และ 360 ทั้งในกลุ่มที่ใช้ TENS และกลุ่มที่ใช้ยา มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม สรุปได้ว่า ทั้งสองวิธีน่าจะมีผลในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ไม่แตกต่างกัน
ที่มา
วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปี 2552, January-April ปีที่: 21 ฉบับที่ 1 หน้า 50-56
คำสำคัญ
pain, TENS, Dysmenorrhea, การระงับปวด, ทีอีเอ็นเอส, ปวดประจำเดือน, ปวดระดู