การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสิว
Kanokvalai Kulthanan, สุขุม เจียมตน*, เรณู กิตติสารพงษ์Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand; E-mail: srsjt@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: สิวเป็นโรคที่มีการอักเสบของต่อมไขมัน และรูขุมขน ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเป็น และปัญหาทางจิตใจและการเข้าสังคม มีรายงานว่า เมื่อเปรียบเทียบกับโรคเรื้อรังอื่น ผู้ป่วยโรคสิวมีปัญหาทางสังคม จิตใจ และอารมณ์ใกล้เคียงกับโรคที่รุนแรงหลายโรค การศึกษานี้มุ่งที่จะประเมินผลกระทบของโรคสิว รวมทั้งความรุนแรงของสิว และแผลเป็นจากสิว ที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถาม Dermatology Life Quality Index (DLQI) ฉบับภาษาไทยวิธีการ: ผู้ป่วยโรคสิว จำนวน 110 ราย ที่มารับการตรวจที่แผนกตรวจโรคนอก ภาควิชาตจวิทยา โรงพยาบาลศิริราช ตอบแบบสอบถาม DLQI ฉบับภาษาไทยด้วยตัวเอง และแพทย์ตรวจประเมินความรุนแรงของสิว และแผลเป็นจากสิวผลการศึกษา: ผู้ป่วย 110 ราย เป็นผู้ป่วยหญิง 80 ราย (72%) อายุตั้งแต่ 16-52 ปี อายุเฉลี่ย (SD) คือ 26.0 (6.6) ปี คะแนนรวมเฉลี่ยของ DLQI คือ 8.95 (คะแนนตั้งแต่ 0-24) ปัญหาเรื่องอับอายเป็นข้อที่ผู้ป่วยให้คะแนน DLQI สูงสุด (กระทบคุณภาพชีวิตมากที่สุด) ข้ออื่นๆ ที่มีคะแนน DLQI สูงเช่นกัน ได้แก่ ปัญหาการเข้าสังคม อาการคัน เจ็บผิวหนัง และปัญหาจากการรักษาตามลำดับ ผู้หญิงมีปัญหาของการคบเพื่อน มีคะนนสูงกว่าผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) อาจช่วยบ่งว่าเพศหญิงมีความกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์มากกว่าเพศชาย ผู้ชายส่วนใหญ่ที่มีสิวที่รุนแรงน้อย (63%) ให้คะแนน DLQI ต่ำ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางราย แม้สิวรุนแรงน้อยแต่ก็ให้คะแนน DLQI สูง ช่วยบ่งว่าในบางคนแม้สิวเป็นน้อยแต่ก็อาจกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากได้ คะแนน DLQI ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีแผลเป็นน้อย จะต่ำกว่าผู้ที่มีแผลเป็นมากสรุป: แพทย์ไม่ควรจะมองข้ามไปว่าสิวไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หรือมีผลน้อย การใช้แบบสอบถามง่ายๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนี้อาจช่วยให้แพทย์ทราบถึงความเครียดทางจิตใจของผู้ป่วยโรคสิว และนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ที่มา
สารศิริราช ปี 2550, January
ปีที่: 59 ฉบับที่ 1 หน้า 3-7
คำสำคัญ
Quality of life, Acne