ต้นทุนและประสิทธิผลของศูนย์การแพทย์เขตเมืองนครราชสีมา: กรณีศึกษาของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, Manit Kongpan, รุจิรา มังคละศิริ, มานิต คงแป้น, รุจิรา มังคละศิริ, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยFaculty of Medicine, Naresuan University, Phitsanulok 65000
บทคัดย่อ
การปฏิรูประบบสาธารณสุขในประเทศไทยกำลังค้นหารูปแบบโครงสร้างของบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมสำหรับประชาชนในเขตเมือง ศูนย์การแพทย์เขตเมืองเป็นรูปแบบหนึ่งที่ทดลองในพื้นที่หลายจังหวัด การศึกษานี้เปรียบเทียบต้นทุนและประสิทธิผลของการจัดบริการแบบศูนย์การแพทย์เขตเมืองนครราชสีมากับการจัดบริการที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยใช้กรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นกรอบของการเปรียบเทียบ ผลการศึกษาเสนอค่าประมาณการแบบจุดเดียวโดยการศึกษาย้อนหลังและการสัมภาษณ์ภาคตัดขวาง พบว่าต้นทุนทั้งหมด (รวมต้นทุนของผู้ให้บริการและต้นทุนผู้ป่วย) ของบริการที่ศูนย์การแพทย์เขตเมืองต่ำกว่าต้นทุนบริการของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ประสิทธิผลของการบริการที่ศูนย์การแพทย์เขตเมืองก็สูงกว่าด้วย จึงสรุปว่า การจัดบริการศูนย์การแพทย์เขตเมือง น่าจะเป็นรูปแบบที่ดีของระบบบริการการแพทย์ขั้นปฐมภูมิสำหรับประชาชนในเขตเมือง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2544, August
ปีที่: 84 ฉบับที่ 8 หน้า 1204-1211
คำสำคัญ
effectiveness, Thailand, ประสิทธิผล, Cost, hypertension, เบาหวาน, Diabates, Primary care, การแพทย์ชั้นปฐมภูมิ, ความดันเลือดสูง, ต้นทุน