การศึกษาเปรียบเทียบเส้นกราฟการเรียนรู้ของการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังโดยใช้เข็มขนาด 25 และ 27 สำหรับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาวิสัญญีวิทยา
พรเทพ เปรมสำราญ, สมรัตน์ จารุลักษณานันท์*, อรนุช เกี่ยวข้อง
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Rama IV Rd., Pathumwan, Bangkok 10330, Thailand. Phone:0-2256-4295, 0-2252-1699, Fax: 0-2256-4294
บทคัดย่อ
ที่มาและเหตุผล: ขนาดของเข็มฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลังอาจมีผลเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการทำหัตถการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังวัตถุ ประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเส้นกราฟการเรียนรู ้ของการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังสำเร็จโดยใช้เข็มเจาะหลังชนิด Quincke ขนาด 25G และ 27Gสถานที่ทำการศึกษา: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย: การศึกษาไปข้างหน้าแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบโดยการสุ่มวัสดุและวิธีการ: แพทย์ประจำบ้านใหม่ สาขาวิสัญญีวิทยาชั้นปีที่ 1 จำนวน 10 คน ถูกสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ I ใช้เข็ม Quincke ขนาด 25G กลุ่มที่ II ใช้เข็มขนาด 27G ทำหัตถการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังคนละ 200 รายติดต่อกัน แพทย์ประจำบ้าน แต่ละคนทำการบันทึกอัตราการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังสำเร็จของตนเองแบบนิรนาม เส้นกราฟการเรียนรู้ของการทำหัตถการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังสำเร็จคำนวณจากอัตราการทำหัตถการสำเร็จสะสม แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 กลุ่ม มีอัตราการเรียนรู้สำเร็จเพิ่มเร็วมากในช่วง 20 ครั้งแรก อัตราการสำเร็จเมื่อครบ 200 ครั้งเท่ากับ 84% (95%CI, 66.5-100) และ 87% (95%CI, 61.5-100); p = 0.89 จุดที่อัตราการทำหัตถการสำเร็จแตกต่างกันมากที่สุดได้แก่ ครั้งที่ 20 มี อัตราสำเร็จ 76% vs 65% ในกลุ่มที่ I และ II ตามลำดับซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.54)สรุป: ขนาดเข็มฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง Quincke ทั ้ง 25G และ 27G ไม่ทำให้เกิดความแตกต่างของอัตราการทำหัตถการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังสำเร็จ โดยอัตราการทำหัตถการสำเร็จเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่าง 20 ครั้งแรกในทั้ง 2 กลุ่ม 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, November ปีที่: 88 ฉบับที่ 11 หน้า 1569-1573
คำสำคัญ
anesthesia, Spinal anesthesia, Learning curve, Training, Needle size