การศึกษาเปรียบเทียบการใช้เลโวบูพิวาเคนและบูพิวาเคนฉีดเข้าชั ้นนอกดูราสำหรับการระงับความรู้สึกในการผ่าตัดคลอดเด็กทางหน้าท้อง
ชัยวัฒน์ ศรีหัตถจาติ, ดนัย อุดมเตชะ, พรสวรรค์ งามประเสริฐวงศ์, สมรัตน์ จารุลักษณานันท์*, สินธิชัย บัวงาม, อรลักษณ์ รอดอนันต์Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand. Phone:0-2256-4295, 0-2252-1699, Fax: 0-2256-4294, E-mail:somratcu@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุ ประสงค์: บูพิวาเคนเป็นยาชาซึ่งเป็นส่วนผสมของเด็กซโตรบูพิวาเคน และเลโวบูพิวาเคน ซึ่งมีการศึกษาพบว่า เด็กซโตรบูพิวาเคนมี ผลเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบไหลเวียนเลือดมากกว่าเลโวบูพิวาเคน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูประสิทธิภาพทางคลินิก และความปลอดภัยของเลโวบูพิวาเคนเทียบกับบูพิวาเคนที่ฉีดเข้าชั้นนอกดูราวัสดุและวิธีการ: สุ่มตัวอย่างแบ่งหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเข้ารับการผ่าตัดคลอดเด็กทางหน้าท้องแบบไม่ฉุกเฉิน 61 ราย โดยกลุ่มที่ 1 จำนวน 31 รายได้รับการฉีดยา 0.5% เลโวบูพิวาเคนเข้าชั้นนอกดูรา ขณะที่ กลุ่มที่ 2 จำนวน 30 ราย ได้รับการฉีดยา 0.5% บูพิวาเคนเข้าชั้นนอกดูรา โดยการสุ่มตัวอย่าง และปกปิดทั้ง 2 กลุ่มผลการศึกษา: ทั้ง 2 กลุ่มที่ทำการศึกษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแง่ ของระยะเวลาตั้งแต่ ฉีดยาจนยาชาเริ่มออกฤทธิ์ระงับปวด ระยะเวลาระงับปวด ระยะเวลาที่เริ่มชาลดลง ระยะเวลาตั้งแต่ฉีดยาชาจนกล้ามเนื้อเริ่มหย่อนตัว ระยะเวลาที่กล้ามเนื้อหย่อนตัว ระดับความเจ็บปวดขณะเปิดหน้าท้อง และขณะเด็กคลอด โดยค่าเฉลี่ย (เบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของปริมาณ 0.5% เลโวบูพิวาเคน และ 0.5% บูพิวาเคนเท่ากับ 19.3 (4.6) มล. และ 17.3 (3.8) มล. ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.069สรุป: การฉีดยาชาเลโวบูพิวาเคนเข้าชั้นนอกดูรา สามารถให้การระงับความรู ้สึกได้เช่นเดียวกับการฉีดบูพิวาเคนและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดคลอดเด็กทางหน้าท้อง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, November
ปีที่: 88 ฉบับที่ 11 หน้า 1563-1568
คำสำคัญ
Local anesthetics, Regional anesthesia, Cesarean delivery, Extradural, Levobupivacaine, Obstetrics