การศึกษาเปรียบเทียบการลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อน่องในผู้ป่วยสมองพิการระหว่างฟีนอลและเอธานอล
ธิติมา ศิริมาตยาพันธุ์, พจน์ เอมพันธุ์, สมเกียรติ เหมตะศิลป, อารมณ์ ขุนภาษี*, เศรษฐพงศ์ ถิ่นชีลอง, ไกรวัชร ธีรเนตร
Department of Physical Medicine and Rehabilitation Phramongkutklao Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของฟีนอลและเอธานอล ที่ใช้ในการรักษาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าลงในผู้ป่วยสมองพิการรูปแบบการวิจัย: Double-blinded, randomized clinical trial สถานที่ทำวิจัย: กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ากลุ่มที่ถูกทำการวิจัย: ผู้ป่วยสมองพิการ 51 ราย เด็กชาย 28 ราย เด็กหญิง 23 ราย อายุเฉลี่ย 88.7 เดือน แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม วิธีการ: กลุ่มที่ 1 จำนวน 24 ราย รักษาโดย 5% ฟีนอล กลุ่มที่ 2 จำนวน 27 ราย รักษาด้วยเอธานอล รักษาการหดเกร็งด้วยวิธี Intramuscular Neurolysis วัดผลโดยการให้คะแนน Modified Ashworth Scale (MAS) และพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเท้าโดยใช้แรงของผู้ตรวจ (PROM) ติดตามผลการรักษาทันทีหลังฉีด, หลังฉีด 7 วัน, หลังฉีด 28 วัน, และหลังฉีด 84 วัน ผลการวิจัย: ทั้ง 2 กลุ่มมีผลการรักษาดีขึ้นอย่างชัดเจนตลอดเวลาที่ติดตามผล ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงเวลาติดตามผล 84 วันผลสรุป: ในเบื้องต้นฟีนอลและเอธานอลให้ผลการรักษาที่ดีในการลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อน่องในผู้ป่วยสมองพิการ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการศึกษาควรติดตามผลการรักษาที่นานขึ้น
ที่มา
เวชสารแพทย์ทหารบก ปี 2547, July-September ปีที่: 57 ฉบับที่ 3 หน้า 127-134
คำสำคัญ
Spasticity, Cerebral palsy, Ethanol, Intramuscular neurolysis, Phenol