คุณภาพชิวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่างและหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
พรพิมล มาศสกุลพรรณ
Department of Rehabilitation Medicine, Prasat Neurological Institute, Bangkok, Thailand
บทคัดย่อ
                ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่างและหลังฟื้นฟูสมรรถภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตที่สถาบันประสาทวิทยา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน พ.ศ.2548 จำนวน 100 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิต SF-36 ซึ่งประกอบด้วย 8 มิติ พบว่า คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเมื่อผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพคือเมื่อจำหน่ายดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 8 มิติของ SF-36 และเมื่อ 1 เดือนหลังจำหน่ายยังคงดีขึ้น 6 มิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามมีเพียง 2 มิติ ที่เลวลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในแง่ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตพบว่า อายุมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับหลายมิติของ SF-36 สมองข้างเกิดอาการมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อคุณภาพชีวิตหลายมิติ เมื่อผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพคือเมื่อจำหน่ายและ 1 เดือนหลังจำหน่าย ส่วนสถานภาพสมรสและพยาธิสภาพของโรคมีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตในบางมิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเพศมีความสัมพันธ์น้อยมากคือ เพียง 2 มิติ เมื่อแรกรับเท่านั้น โดยที่โรคร่วมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงไม่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนแนวทางรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะในแง่ของคุณภาพชีวิต
ที่มา
วารสารกรมการแพทย์ ปี 2548, March ปีที่: 30 ฉบับที่ 3 หน้า 135-147
คำสำคัญ
Quality of life, SF-36, Stroke, Rehabilitation, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, คุณภาพชิวิต, โรคหลอดเลือดสมอง