การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ การรักษาโรคซึมเศร้าในคนไทย: เปรียบเทียบระหว่างยาเอสซิตาโลเพรม ฟลูอ๊อกซิทีน และเวนลาแฟกซีน
ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา, รณชัย คงสกนธ์*
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Praram 6 Rd, Bangkok 10400, Thailand. Phone: 0-2201-1478, Fax: 0-2201-9647, E-mail: rarks@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยปรียบเทียบระหว่างยา SSRI ใหม่ escitalopram กับ ยาในกลุ่ม SSRI ตัวอื่น คือ fluoxetine และ ยาในกลุ่ม SNRI คือ venlafaxineวัสดุและวิธีการ: การประเมินทางเภสัชเศรษฐศาสตร์ครั้งนี้ ใช้ decision analytical model เพื่อการวัดประสิทธิภาพและมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการรักษาข้อมูลรูปแบบของการรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า และ resource utilization ได้จากการสำรวจจากจิตแพทย์ไทยและแพทย์ทั่วไปค่าใช้จ่ายในการรักษา ประมาณค่าจากค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยตรง (ราคายา, ค่าธรรมเนียมแพทย์,ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล, ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในของโรงพยาบาล, และค่ารักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า) และค่าใช้จ่ายโดยอ้อม (ค่าสูญเสียจากการหยุดงาน ค่าเสียรายรับจากการตกงาน)ผลการศึกษา: escitalopram ได้ผลการรักษาในอัตราที่สูงกว่า และค่าใช้จ่ายโดยรวมในการรักษาต่ำกว่ายา fluoxetine และยา venlafaxine จากการศึกษาระยะเวลา 6 เดือนในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพบว่า escitalopram สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 2,002 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับ fluoxetine, และ 1,768 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับ venlafaxineสรุป: การรักษาโรคซึมเศร้าในคนไทยด้วยกลุ่มยาต้ านเศร้า escitalopram มีความคุ้มทุนในเชิงเศรษฐศาสตร์มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ fluoxetine และ venlafaxine
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, July ปีที่: 91 ฉบับที่ 7 หน้า 1117-1128
คำสำคัญ
cost-effectiveness, Escitalopram, Fluoxetine, Major depression, SNRI, SSRIs, Venlafaxine