คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไทยโรคอารมณ์แปรปรวน: กรณีศึกษา 285 ราย
บุรณี กาญจนถวัลย์, ปราการ ถมยางกูร, รณชัย คงสกนธ์*, สุทธิพร เจณณวาสิน
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand. Phone: 0-2201-1098, 08-9678-1295, E-mail: rarks@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: โรคอารมณ์แปรปรวนเป็นโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วย การศึกษานี้ จึงมีจุดประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โรคอารมณ์แปรปรวนชาวไทยที่ได้รับการรักษา โดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิต SF-36วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง โดยประเมินความรุนแรงของอาการผู้ป่วย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนที่รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก จาก 4 ศูนย์การศึกษา โดยใช้แบบสอบถาม SF-36 ในการประเมินคุณภาพชีวิต และ Thai Mania Rating Scale (TMRS) ในการประเมินความรุนแรงของอาการผลการศึกษา: ข้อมูลได้จากผู้ป่วยอารมณ์แปรปรวน 285 ราย คะแนนเฉลี่ย TMRS 4.42 ± 5.87 คะแนน SF-36 ในประชากรที่ศึกษาพบว่า ต่ำกว่าคะแนนของประชากรไทยทั่วไปในทุกด้านยกเว้น ด้านการเจ็บป่วยทางกาย และ การทำกิจกรรมทางสังคม กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาโซเดียม วาลโพรเอต พบมีคะแนนคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาลิเทียมสรุป: การศึกษานี้เป็นเพียงหนึ่งในการศึกษานำร่องเพื่อประเมินผลของโรค ต่อคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยไทย โรคอารมณ์แปรปรวนแม้ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะที่ควบคุมอาการของโรคได้ ความเป็นอยู่ทั่วไป และ ความสามารถในการทำงานก็ยังด้อยกว่าบุคคลทั่วไป
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, June ปีที่: 91 ฉบับที่ 6 หน้า 913-918
คำสำคัญ
Lithium, Health-related quality of life, SF-36, bipolar disorder, Sodium valproate