ความพึงพอใจของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับบริการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อช่วยในการดูแลการตั้งครรภ์: วิธีวิจัยแบบสุ่ม ควบคุมกลุ่มตัวอย่าง
Chantra Tienthai, จิราวรรณ ฉัตรชัยนพคุณ, ประคอง ชื่นวัฒนา, รสธรรม จารีธรรม*, วิทยา ถิฐาพันธ์, สมหมาย วิบูลย์ชาติ
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand. E-mail:Rossathumj@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจ ความมั่นใจและความวิตกกังวลระหว่างสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลครรภ์ตามปกติร่วมกับการได้รับบริการส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือกับสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลครรภ์ตามปกติเพียงอย่างเดียวในโรงพยาบาลศิริราช โดยมีความพึงพอใจของบริการฝากครรภ์เป็นเป้าหมายหลักของการศึกษาและเปรียบเทียบความมั่นใจ ความวิตกกังวล และผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ร่วมด้วยชนิดของการวิจัย: การวิจัยแบบสุ่ม ควบคุมกลุ่มตัวอย่างวัสดุและวิธีการ: สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลศิริราช ที่เข้าได้กับเกณฑ์การคัดเลือก ประชากรระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2550 จะได้รับการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มศึกษาที่ได้รับข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ จนกระทั่งคลอด และกลุ่มควบคุมที่จะไม่ได้รับข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ ทั้ง 2 กลุ่ม จะได้รับการดูแลฝากครรภ์ และการดูแลขณะคลอดที่เหมือนกัน ระดับความพึงพอใจ ความมั่นใจ และความวิตกกังวลจะถูกประเมิน โดยใช้แบบสอบถาม เมื่อสตรีตั้งครรภ์พักรักษา ในหอผู้ป่วยหลังคลอดและเก็บข้อมูลการคลอดเพื่อเปรียบเทียบระหว่างทั้ง 2 กลุ่มด้วยผลการศึกษา: ความพึงพอใจของสตรีตั้งครรภ์ ที่ได้รับบริการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อช่วยในการดูแลครรภ์ มีความพึงพอใจสูงกว่าในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับข้อความอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติทั้งในขณะรับบริการฝากครรภ์ (9.25 และ 8.00, p = 0.001) และการดูแลระหว่างคลอด (9.09 และ 7.90, p = 0.007) ในกลุ่มศึกษาที่ได้รับข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือยังมีระดับความมั่นใจสูงกว่า (8.91 และ 7.79, p = 0.001) และระดับความวิตกกังวลน้อยกว่าในกลุ่มควบคุม (2.78 และ 4.93, p = 0.002) อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่พบความแตกต่างของผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ระหว่างทั้ง 2 กลุ่มสรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสตรีตั้งครรภ์ ที่ได้รับการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อช่วยในการดูแลครรภ์มีระดับความพึงพอใจสูงกว่าในกลุ่มสตรีที่ได้รับการฝากครรภ์ตามปกติ เพียงอย่างเดียวทั้งในขณะฝากครรภ์และขณะคลอด และการศึกษานี้ยังพบว่าในขณะฝากครรภ์ ระดับความมั่นใจของกลุ่มสตรีที่ได้รับข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือสูงกว่าและระดับความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับข้อความอีกด้วย
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, April ปีที่: 91 ฉบับที่ 4 หน้า 458-463
คำสำคัญ
SATISFACTION, Antenatal care, Prenatal support, Short message service, SMS