ไพโอกลิทาโซนลดปริมาณโปรตีนและทรานส์ฟอร์มมิ่งโกร้ทแฟคเตอร์-เบตาในปัสสาวะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในระยะโอเวอร์ทเนฟโฟรพาท
พิสุทธิ์ กตเวทิน, สมชาย เอี่ยมอ่อง, สมพงษ์ สุวรรณวลัยกรDivision of Nephrology,Department of Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand. Phone & Fax: 0-2252-6920, E-mail: EiamOng@netscape.net
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของไพโอกลิทาโซนต่อปริมาณโปรตีนและทรานส์ฟอร์มมิ่งโกร้ทแฟคเตอร์-เบตา ในปัสสาวะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในระยะโอเวอร์ทเนฟโฟรพาที่วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะสูงกว่า 500 มก./วัน แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1(24ราย) ได้รับไพโอกลิทาโซน (30 มก./วัน) กลุ่มที่ 2 (16 ราย) เป็นกลุ่มควบคุมผลการวิจัย: ตลอดการศึกษาไม่พบความแตกต่างกันในการควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิต ก่อนเริ่มศึกษาไม่มีความแตกต่างของค่าต่าง ๆ ที่ทำการตรวจปริมาณโปรตีนในปัสสาวะในกลุ่มไพโอกลิทาโซนลดลง 40.1 + 3% (จาก 16 + 0.2 เป็น 0.9 + 0.1 กรัม/วัน) ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับค่า 4.3+0.1% ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มควบคุม (จาก 1.7 + 0.2 เป็น 1.8 + 0.2 กรัม/วัน) ปริมาณทรานส์ฟอร์มมิ่งโกร้ทแฟคเตอร์-เบตาในกลุ่มไพโอกลิทาโซนลดลง 47.8% เปรียบเทียบกับ 59.7% เพิ่มขึ้นในกลุ่มควบคุม (p < 0.05) ปริมาณคอลลาเจนชนิดที่ 4 ในปัสสาวะในกลุ่ม ไพโอกลิทาโซนลดลง 35% เปรียบเทียบกับ 51.6% เพิ่มขึ้นในกลุ่มควบคุม (p = 0.06)สรุ ป: นอกจากประสิทธิ ภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลแล้ว ไพโอกลิ ทาโซนสามารถลดปริมาณของโปรตีนทรานส์ฟอร์มมิ่งโกร้ ทแฟคเตอร์-เบตาและคอลลาเจนในปัสสาวะ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, February
ปีที่: 89 ฉบับที่ 2 หน้า 170-177
คำสำคัญ
Pioglitazone, Diabetic nephropathy, Overt proteinuria, Urinary TGF- β