ผลของกาวไฟบรินต่อการหายของแผลถอนฟัน: การวิเคราะห์ด้วยเครื่องวัดความหนาแน่นกระดูก
พรเพ็ญ เหล่านิยมไทย, ยศนันท์ จันทรเวคิน*, วิจิตร ธรานนท์, สุนันท์ บัญชเสนศิริ
Faculty of Densitry, Thammasat University, Rangsit Campus, T.Klong Nung, A.Klong Luang, Pathumthani 12121.  E-mail: yosananda@hotmail.com
บทคัดย่อ
                มีการใส่สารบางชนิดลงในเบ้าฟันเพื่อกระตุ้นการเจริญของกระดูก พบว่ากาวไฟบรินซึ่งเป็นสารห้ามเลือดชนิดหนึ่งอาจมีคุณสมบัตินี้ แต่ผลการศึกษายังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่ากาวไฟบรินสามารถเร่งการหายของแผลถอนฟันได้หรือไม่โดยวิเคราะห์ด้วยเครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก การศึกษานี้ทำในผู้ป่วย 8 คน ซึ่งได้รับการผ่าตัดฟันกรามซี่ที่สามล่างคุดทั้งสองด้าน หลังผ่าฟันคุดได้ใส่กาวไฟบรินในแผลผ่าตัดข้างหนึ่งเป็นด้านทดลอง ส่วนด้านที่ไม่ได้ใส่สารใดๆ ถือเป็นด้านควบคุม ภาพรังสีจะถูกนำไปสแกนและวิเคราะห์ด้วยระบบดิกอราดิจิทัลอิมเมจทันทีหลังผ่าตัด และวัดซ้ำทุกๆ เดือนจนครบ 5 เดือน โดยค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของกระดูกได้จากความหนาแน่นของกระดูกคูณ 100 และหารด้วยความหนาแน่นของเนื้อฟันของฟันกรามซี่ที่สองล่าง ผลการศึกษาพบความหนาแน่นสัมพัทธ์ของกระดูกที่วัดหลังผ่าตัดทันที และในเดือนที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ในข้างทดลองมีค่าเท่ากับ 77.96, 81.21, 82.16, 84.67 และ 86.31 ส่วนในข้างควบคุมมีค่า 78.96, 77.02, 77.00, 78.86, 82.97 และ 80.57 ตามลำดับ พบว่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของกระดูกในข้างทดลองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ในขณะที่ในข้างควบคุมไม่พบว่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของกระดูกเปลี่ยนแปลงจากค่าเริ่มต้น เมื่อทดสอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำร่วมกับการทดสอบเปรียบเทียบแบบพหุของทูเคย์เครเมอร์ พบว่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ในเดือนที่ 1, 2 และ 5 ของข้างทดลองมากกว่าข้างควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อทดสอบแบบทีชนิดคู่ แสดงให้เห็นว่ากาวไฟบรินส่งผลเชิงบวกต่อความหนาแน่นของกระดูกและอาจเสริมการหายของบาดแผลถอนฟันได้
ที่มา
วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ ปี 2548, January-April ปีที่: 55 ฉบับที่ 1 หน้า 52-62
คำสำคัญ
Fibrin glue, Fibrin sealant, Radiodensitometry, Tooth socket healing