ผลของการให้คำปรึกษาและการใช้แนวทางดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับไว้ในโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ไพบูลย์ ค้ำพันธุ์Section of Medicine, Taksin Hospital, Bangkok 10600, Thailand. Phone: 0-2437-0123, E-mail: kp.piyawan@hotmail.com
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยได้ศึกษาผลของการให้คำปรึกษา และการใช้แนวทางดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับไว้ในโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จำนวน 33 ราย (กลุ่มศึกษา) เปรียบเทียบกับอีก 32 ราย ที่ได้รับการรักษาตามปกติ (กลุ่มควบคุม) ในโรงพยาบาลตากสิน ตั้งแต่ กรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2548 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 กลุ่ม มีความคล้ายคลึงกันด้านอายุ เพศ ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดขณะแรกรับไว้ในโรงพยาบาลโดยส่วนมากเป็นเพศหญิงและสูงอายุ ไม่ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเรื่องของจำนวนผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่าง ๆ จากโรคเบาหวาน จำนวนผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนเฉียบพลันขณะรักษาตัวในโรงพยาบาลตลอดจนวิธีการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของกลุ่มศึกษา (3.94 ± 1.03 วัน) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (6.38 ± 4.05 วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่า p เท่ากับ 0.0005 ค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งของการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลจากปลายนิ้ว ในระหว่างการรักษาในโรงพยาบาลของกลุ่มศึกษา (10.03 ± 5.04 ครั้ง) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (12.34 ± 5.96 ครั้ง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.048) นอกจากนั้น อัตราการกลับเข้ ารับการรักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอีกหลังจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้ว 1 เดือน และ 3 เดือนตามลำดับในกลุ่มศึกษา (6.1%) ก็น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (34.4%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.036) อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาลเฉลี่ยในกลุ่มศึกษา (2,743 .58 ± 1,473.04 บาท) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (3,687 ± 3,110.82 บาท) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.06) โดยสรุป การให้คำปรึกษาแนะนำและการใช้ แนวทางดู แลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่รับไว้ในโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สามารถลดระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลลดอัตราการกลับเข้ ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว 1 เดือน และ 3 เดือน ตามลำดับได้ดีกว่าการรักษาแบบปกติ เป็นผลให้ ลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, May
ปีที่: 89 ฉบับที่ 5 หน้า 619-625
คำสำคัญ
Clinical pathway, Counseling, Hypoglycemia, Length of hospital stay, Type 2 diabetes mellitus