ประสิทธิภาพของยาชาอาร์ติเคนและยาชาลิโดเคนในการผ่าตัดฟันกรามคุดล่างซี่ที่สาม
ณัฐพงศ์ สิรนทวัฒน์, ธีรลักษณ์ สุทธเสถียร*, ประภากร จำนงประสาทพร, วีระศักดิ์ ไพรัชเวทย์, สุทัศ รักประสิทธิ์กูล
Oral Surgery Department Faculty of Dentisty, Mahidol University, Yothi street, Ratchtavee, Bangkok 10400
บทคัดย่อ
                การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาชาอาร์ติเคน 4% และยาชาลิโดเคน 2% โดยมีอิพิเนฟรีน 1:100,000 ในการผ่าตัดฟันกรามคุดล่างซี่ที่สามในด้านของ ประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดยศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 20 รายแบบสุ่มในตัวอย่างเดียวกัน (Double-blind Randomised, Crossover) โดยผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับยาชาเฉพาะที่ต่างชนิดกันในการผ่าตัดฟันกรามคุดล่างซี่ที่สามทั้งสองครั้ง พบว่าระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยาชา (Duration of action) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยยาชาอาร์ติเคนมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ที่ยาวกว่า (โดยที่ค่า P < 0.05), การควบคุมระดับของความเจ็บปวด (Pain intensity) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยยาชาอาร์ติเคนสามารถควบคุมระดับของความเจ็บปวดได้สูงกว่า (โดยมีค่า P < 0.05) และผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ พบว่ายาชาทั้งสองชนิดไม่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าความดันช่วงหัวใจบีบ, ค่าความดันช่วงหัวใจคลาย อย่างมีนัยสำคัญ แต่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของชีพจร อย่างมีนัยสำคัญ เพียงแค่บางช่วงเวลาของการผ่าตัดเท่านั้นซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเครียด, ความกลัวของผู้ป่วยในการผ่าฟันกรามคุดล่างซี่ที่สาม ดังนั้นยาชาอาร์ติเคน 4% นั้นมีประสิทธิภาพกว่ายาชาลิโดเคน 2% ในการผ่าตัดฟันกรามล่างซี่ที่สาม ในด้านมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ที่ยาวกว่า รวมทั้งสามารถควบคุมระดับของความเจ็บปวดได้สูงกว่า อาจเป็นเนื่องจากความเข้มข้นของยาไม่เท่ากันและยาชาทั้งสองชนิดนี้ สามารถนำมาใช้งานในทางทันตกรรมได้อย่างปลอดภัย
ที่มา
วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล ปี 2548, January-December ปีที่: 25 ฉบับที่ 1 หน้า 59-66
คำสำคัญ
Local anesthetic, Lidocaine, ลิโดเคน, Articaine, Mandibular third molar, ฟันกรามล่างซี่ที่สาม, ยาชาเฉพาะที่, อาร์ติเคน