ประสิทธิผลของโปรแกรมให้คำปรึกษา เพื่อควบคุมธาลัสซีเมีย และฮีโมโกลบินผิดปกติเปรียบเทียบกับวิธีการให้คำแนะนำตามปกติ
ณรงค์ วินิยกูล, นิคม ถนอมเสียง, ผ่องศรี แสนไชยสุริยา, สมคิด เสงี่ยมศักดิ์, โรงพยาบาลแม่และเด็ก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 6 ขอนแก่น, ไกรสร วิวัฒน์พัฒนกุล*
บทคัดย่อ
ประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้เกี่ยวกับธาลัสซีเมีย และฮีโมโกลบินผิดปกติ การให้คำปรึกษาแก่สตรีตั้งครรภ์ และสามีเป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยควบคุมและป้องกันโรคนี้ ดังนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมให้คำปรึกษา เพื่อควบคุมธาลัสซีเมีย และฮีโมโกลบินผิดปกติ ที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงทดลอง ชนิด Randomized control trial โดยสตรีที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลแม่และเด็ก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 6 ขอนแก่น ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นพาหะ หรือโรค จะได้รับการแบ่งกลุ่ม โดยวิธีสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษาจำนวน 97 คน จะได้รับคำปรึกาาตามโปรแกรมที่จัดสร้างขึ้น โดยมีชั้นเรียน อุปกรณ์สื่อ และหนังสือคู่มือ ส่วนกลุ่มควบคุมจำนวน 90 คน จะได้รับคำแนะนำตามที่เคยปฏิบัติ โดยส่งพบแพทย์ ผลการศึกษาพบว่า ผลแตกต่างเฉลี่ยของคะแนนแบบสอบถาม ก่อนและหลังได้รับ Intervention ในเรื่องความรู้ของกลุ่มศึกษาดีขึ้น 8.7 คะแนน กลุ่มควบคุมดีขึ้น 3.2 คะแนน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ส่วนในเรื่องทัศนคติของกลุ่มศึกษาดีขึ้น 2.3 คะแนน กลุ่มควบคุมดีขึ้น 1.4 คะแนน ซึ่งไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) สรุปการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ได้รูปแบบโปรแกรมให้คำปรึกษาที่เหมาะสม และสามารถนำรูปแบบดังกล่าว ไปจัดอบรมแก่บุคลากรด้านสาธารณสุข จากโรงพยาบาลต่างๆ ต่อไป
ที่มา
วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ปี 2539, January-April ปีที่: 19 ฉบับที่ 1 หน้า