การเปรียบเทียบลักษณะของผิวรากฟันในฟันที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบภายหลังการใช้เออร์เบียมแย็ก และเออร์เบียมโครเมียมโด๊ปยิตเตรียมสแกลเดียมแกลเลียมการ์เน็ต เลเซอร์: การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ
นภดล เจือเจริญวสุชัย, พรทิวา เสนารักษ์, วิลาวัลย์ วีระอาชากุล, สินี เชาวรัตน์, อรุณ ทีรฑพงศ์*Department of Periodontology, Faculty of Dentistry, Khon Kaen University, KhonKaen Thailand, 40002
บทคัดย่อ
เออร์เบียมแย็กและเออร์เบียมโครเมียมโด๊ปยิตเตรียมสแกลเดียมแกลเลียมการ์เน็ตเลเซอร์สามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์หินน้ำลายในผิวรากฟันที่เป็นโรคปริทันต์ได้ดีแต่การศึกษาเปรียบเทียบเลเซอร์ทั้ง 2 ชนิดมีน้อยทั้งการศึกษาดูลักษณะของพื้นผิวของรากฟันและการศึกษาดูการยึดเกาะของไฟโบรบลาสต์ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบลักษณะพื้นผิวรากฟันที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบที่ผ่านการขูดปรับสภาพโดยใช้เออร์เบียมแย็กและเออร์เบียมโครเมียมโดปยิตเตรียมสแกลเดียมแกลเลียมการ์เน็ต (ไบโอเลส) เลเซอร์ในฟันกรามล่างจำนวน 15 ซี่ถูกถอนเนื่องจากโรคปริทันต์อักเสบและเตรียมไว้สำหรับการศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A ได้รับการขูดหินน้ำลายเกลารากฟันอย่างเดียว กลุ่ม B ได้รับการขูดปรับสภาพผิวรากฟันด้วย เออร์เบียมแย็กเลเซอร์ พลังงาน 30 มิลลิจุลล์/พัลส์ (หัวขูดทำมุม 45 องศากับพื้นผิวพร้อมสเปรย์พ่นน้ำ) และกลุ่ม 3 (กลุ่ม C) ได้รับการขูด ทำการศึกษาลักษณะพื้นผิวรากฟันโดยใช้กล้องจุลทรรศน์และกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด พบว่า พื้นผิวรากฟันที่ผ่านการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันเพียงอย่างเดียวมีพื้นผิวรากฟันค่อนข้างเรียบมีรอยที่เกิดจากช้อนขูดพบชั้นสเมียร์ปกคลุมโดยทั่วไป พื้นผิวรากฟันที่ใช้การปรับสภาพพื้นผิวด้วยเออร์เบียม แย็คเลเซอร หลังผ่านการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน พื้นผิวรากฟันมีลักษณะเป็นหลุมเล็กๆ ทั้งความลึกและความกว้างใกล้เคียงกัน เป็นผลให้พื้นผิวรากฟันขรุขระเป็นลักษณะเดียวกันแตมีบางบริเวณมีลักษณะเป็นแง่งแหลม พื้นผิวที่เกิดจากการใช้เออร์เบียมโครเมียมโด๊ปยิต เตรียมสแกลเดียมแกลเลียมการ์เน็ต (ไบโอเลส) เลเซอร มีลักษณะขรุขระสะอาดเหมือนเออรเบียม แย็ค เลเซอรแต่ร่องหลุมจะตื้นกว่าและไมพบแงงแหลมซึ่งน่าจะเหมาะสมต่อการยึดเกาะของไฟโบรบลาสต ซึ่งควรมีการศึกษาต่อเพื่อดูการยึดเกาะของเซลล์ไฟโบรบลาสต
ที่มา
วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2550, July-December
ปีที่: 10 ฉบับที่ 2 หน้า 1-11
คำสำคัญ
Laser scaling, Periodontitis, การขูดปรับผิวรากฟันด้วยเลเซอร์, โรคปริทันต์อักเสบ