การเปรียบเทียบผลของมอร์ฟีนที่บริหารด้วยวิธีให้เข้าหลอดเลือดดำแบบ Sliding Scale กับวิธีฉีดเข้ากล้ามในการระงับปวดหลังผ่าตัดแก่ผู้ป่วยเด็ก
สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์*, ทรงยศ วลัยฤาชา, ประณีต ศิริรัตน์บุญขจร, มงคล เลาหเพ็ญแสง, รวิศ เรืองตระกูล, ฤาดี ขาวสะอาด, สุนทรี สาลีพันธ์
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์   เพื่อเปรียบเทียบผลของการบริหารยามอร์ฟีน โดยวิธีฉีดเข้าหลอดเลือดดำแบบ sliding scale กับวิธีฉีดเข้ากล้าม ต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยเด็ก ภาวะแทรกซ้อน และการยอมรับของผู้ป่วยและพยาบาลวิธีการศึกษา  วางแผนศึกษาในผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดที่คาดว่าจะมีอาการปวดตั้งแต่ระดับปานกลางถึงรุนแรงจำนวน 132 โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม กลุ่มควบคุม (IM) ได้รับการฉีดยามอร์ฟีนเข้ากล้าม (0.1 มก./กก.) เมื่อเด็กร้องขอทุก 6 ชม. กลุ่มทดลองที่ได้รับยามอร์ฟีน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำแบบ sliding scale (IV) บันทึกอาการปวดโดยใช้ CHEOPS score, ค่าความดันโลหิต, ชีพจร, อัตราการหายใจ, SaO2  และอาการคลื่นไส้อาเจียนทุก 1 ชั่วโมง เฝ้าสังเกตการณ์ยอมรับของผู้ป่วย และประเมินความพึงพอใจของพยาบาล โดยใช้แบบสอบถามผลการศึกษา  การศึกษานี้ต้องยุติก่อนเก็บข้อมูลได้ครบ เนื่องจากร้อยละ 47 ของผู้ป่วยในกลุ่ม IM ปฏิเสธการรักษาจำนวนผู้ป่วยที่ศึกษามี 32 ราย อายุ 1.6-12 ปี ASA class 1 ไม่พบความแตกต่างในอัตราส่วนของผู้ป่วยที่มีอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง (IM 73.3%, IV76.5%), ค่า median ของ CHEOPS score สูงสุด(IM 9,IV 10), ปริมาณการใช้มอร์ฟีนใน 24 ชม. (IM 0.157, IV 0.144 มก./กก./24ชม.) ไม่พบภาวะกดการหายใจในทั้ง 2 กลุ่ม พยาบาลชอบใช้วิธีในการดูแลผู้ป่วยมากกว่าวิธี IM เพราะผู้ป่วยยอมรับวิธี IV มากกว่าสรุป  วิธีบริหารยามอร์ฟีนเข้าหลอดเลือดดำแบบ sliding scale ดีกว่าวิธีฉีดเข้ากล้ามในด้านการยอมรับของผู้ป่วยและพยาบาล ผลการระงับปวดและภาวะแทรกซ้อนของวิธีทั้งสองไม่แตกต่างกันคำสำคัญ  การบริหารยามอร์ฟีนเข้าหลอดเลือดดำแบบ sliding scale,  ผู้ป่วยเด็ก, อาการปวดหลังผ่าตัด
ที่มา
สารศิริราช ปี 2546, August ปีที่: 55 ฉบับที่ 8 หน้า 465-472
คำสำคัญ
postoperative pain, morphine, Intravenous sliding scale, Pediatric, การบริหารยามอร์ฟีนเข้าหลอดเลือดดำแบบ Sliding scale, ผู้ป่วยเด็ก, อาการปวดหลังผ่าตัด