การรวมประสานความร่วมมือของทรัพยากรชุมชนเพื่อภาวะสุขภาพและความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
นันทวัน สุวรรณรูป, นัยนา หนูนิล*, ศิริอร สินธุ, สมจิต หนุเจริญกุล
Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, Thailand
บทคัดย่อ
                โรคปอดอุดกั้นเรื้องรังเป็นปัญหาสุขภาพของประชาคมโลก เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ต้องเผชิญกับปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงในการรักษาโรคนี้ การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสามารถช่วยให้ภาวะสุขภาพดีขึ้นได้ แต่ประเทศไทยยังไม่มีหลักฐานการศึกษาถึงผลการรวมประสานความร่วมมือของทรัพยากรในชุมชนต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อทดสอบโปรแกรมการใช้ชุมชน 12 สัปดาห์เป็นฐานในการดูแล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรวมบริการและความร่วมมือของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากที่สุดในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และสุ่มตำบลโดยการจับฉลาก ผู้ป่วยในแต่ละตำบลเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มทดลองหรือควบคุม มีผู้เข้าร่วมจนสิ้นสุดโครงการ ในกลุ่มทดลอง 44 คนและกลุ่มควบคุม 43 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับ (1) การให้ความรู้เป็นกลุ่มร่วมกันระหว่างผู้ป่วยคนอื่น ญาติ และอาสาสมัครหมู่บ้านในแต่ละชุมชน (2) การให้การดูแลและฝึกทักษะผู้ป่วยแต่ละคนที่บ้าน (3) การสนับสนุนด้านจิตใจ-สังคมโดยการเยี่ยมบ้านของพยาบาลชุมชนเดือนละครั้ง, อาสาสมัครสาธารณสุขเยี่ยมเดือนละ 2 ครั้ง และมีญาติเป็นผู้คอยช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ปรับพฤติกรรมสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่าระดับความทนทานในการออกกำลังกาย การหายใจลำบาก คุณภาพชีวิตเกี่ยวกับสุขภาพ และความพึงพอใจกับการดูแลของกลุ่มทดลองดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และค่าขนาดของผลลัพธ์ (effect size) อยู่งในระดับคะแนน 0.48, 0.59 , 0.93 และ 1.03 ตามลำดับ แต่การไปรักษาในโรงพยาบาลของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่าง ผลการศึกษานี้แสดงถึงประสิทธิผลของนวตกรรมการใช้ชุมชนชนบทที่เป็นสังคมเครือญาติ แต่การใช้โปรแกรมนี้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในสังคมเมืองอาจต้องมีการปรับปรุงโดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมกับชุมชนต่อไป
ที่มา
วารสารวิจัยทางการพยาบาล ปี 2550, April - June ปีที่: 11 ฉบับที่ 2 หน้า 118-131
คำสำคัญ
ภาวะสุขภาพ, Community-based care, copd, Health outcomes, Hospital utilization, Patient satisfaction with care, การใช้ชุมชนเป็นฐานในการดูแล, ความพึงพอใจกับการดูแลสุขภาพ, การไปรักษาในโรงพยาบาล, โรคปวดอุดกั้นเรื้อรัง