ผลการใช้ท่า PSU Cat และดนตรีต่อระยะเวลาในระยะก้าวหน้าของการคลอดและการเจ็บครรภ์
วัชรี จงไพบูลย์พัฒนะ, ศศิธร พุมดวง*, สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ, เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์
Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Thailand
บทคัดย่อ
                การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง (randomized factorial design) มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการใช้ท่า PSU Cat สลับการนอนในท่าหัวสูงร่วมกับการฟังดนตรีต่อการลดความปวด โดยมีกลุ่มทดลองทั้งหมด 5 กลุ่ม ลุ่มเข้ากลุ่มโดยวิธี random blocked design ดังนี้ (1) กลุ่ม PSU Cat สลับหัวสูงพร้อมฟังดนตรีจำนวน 40 ราย (2) กลุ่ม PSU Cat สลับหัวสูง จำนวน 40 ราย (3) กลุ่ม PSU Cat สลับนอนราบจำนนวน 40 ราย (4) กลุ่มนอนหัวสูงจำนวน 41 ราย และ (5) กลุ่มนอนราบจำนวน 43 ราย เริ่มต้นทดลองเมื่อปากมดลูกเปิด 3-4 cm พบว่า มารดาที่อยู่ในท่า PSU Cat สลับกับท่าหัวสูง หรือสลับกับท่าแนวราบ และมารดาที่อยู่ในท่าหัวสูงอยู่ในระดับ active phase  น้อยกว่ามารดาที่อยู่ในท่าแนวราบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [F (4,204) = 21,612, p < .001, effect size = .303, power = 1] กล่าวได้ว่าท่า PSU Cat และท่าหัวสูงช่วยย่นระยะเวลาในระยะ active phase ให้สั้นลง ซึ่งสนับสนุน สมมติฐานที่ตั้งไว้ เวลาเฉลี่ยของทั้ง 5 กลุ่ม มีดังนี้ 188, 212, 289, 208, และ 379 นาทีตามลำดับ                สำหรับการทดสอบความปวดโดยใช้ VAS ใน 2 ชั่วโมงแรกของระยะก้าวหน้าของการคลอดมารดาในกลุ่มแนวราบมีคะแนนความปวดน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [F (4) 183) = 3.831, p < .01, effect size .077 power .89] ซึ่งไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของคะแนนความตึงเครียดจากการปวดทางกาย จากการเปรียบเทียบความต่างของค่าเฉลี่ยการปวดพบว่า มารดาในท่า PSU Cat สลับท่าหัวสูงและใช้ดนตรีมีความปวดมากกว่ามารดาในท่า PSU Cat สลับนอนราบสลับหัวสูง ช่วยลดเวลาในระยะก้าวหน้าของการคลอดให้สั้นลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าควรมีการใช้ท่า PSU Cat สลับหัวสูงและใช้ดนตรีในการปฏิบัติทางคลินิก
ที่มา
วารสารวิจัยทางการพยาบาล ปี 2550, April - June ปีที่: 11 ฉบับที่ 2 หน้า 96-105
คำสำคัญ
pain, ความปวด, labor pain, Cat position, Childbirth, Music therapy, การคลอด, ดนตรีบำบัด, ท่าแมว, เจ็บครรภ์คลอด