การลดความเจ็บปวดของฝีเย็บด้วยการประคบเย็นภายหลังเย็บแผลฝีเย็บทันที
ฉวีวรรณ อยู่สำราญ*, วิทยา ถิฐาพันธ์, อัมพร คงจีระ
Departmnt of Obstetric-Gynecologic Nursing, Faculty of Nursing, Mahidol University, Thailand
บทคัดย่อ
                ความเจ็บปวดบริเวณฝีเย็บจากการตัดบริเวณฝีเย็บจากการตัดบริเวณฝีเย็บเพื่อช่วยคลอดทำให้มารดาหลังคลอดเกิดความทุกข์ทรมาน และความไม่สุขสบาย ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าความเย็นสามารถลดความเจ็บปวดได้ แต่ขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัยและจำนวนกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อย กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาภายหลังเย็บแผลทันที คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 250 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ125 ราย โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับการประคบแผลฝีเย็บด้วย cold gel pack pad หรือ gel pack pad ตามตารางกลุ่มที่ทีมผู้วิจัยปิดซองเตรียมไว้ล่วงหน้า                 ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความเจ็บปวดแผลฝีเย็บก่อนและหลังการประคบวัดเมื่อหลังประคบ 15, 30 , 45, 60 นาที ก่อนออกจากห้องคลอดและก่อนจำหน่ายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) และพบว่า การได้รับยาแก้ปวดมีความสัมพันธ์กับการประคบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) โดยกลุ่มที่ประคบแผลฝีเย็บด้วย cold gel pack pad ได้รับยาลดความเจ็บปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ประคบด้วย gel pack pad และพบว่า คะแนนการลดแดงและบวมของแผลฝีเย็บก่อนและหลังการประคบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) นอกจากนี้พบว่ามารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจต่อการประคบแผลฝีเย็บด้วย cold gel pack pad มากกว่า gel pack pad อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ผลสรุปการศึกษาครั้งนี้พบว่าความเย็นลดบวมได้ดีกว่าความเจ็บปวด ดังนั้นจึงควรนำไปใช้ในการปฏิบัติต่อไป
ที่มา
วารสารวิจัยทางการพยาบาล ปี 2550, April - June ปีที่: 11 ฉบับที่ 2 หน้า 87-95
คำสำคัญ
Cold compression, Perineal pain, Perineal swelling, SATISFACTION, การลดบวม, ความพึงพอใจ, ความเจ็บปวด, ประคบเย็น, แผลฝีเย็บ