ประสิทธิภาพของขิงในการป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนภายหลังการผ่าตัดเปิดช่องท้องทางสรีเวช
ต้องตา นันทโกมล*, เด่นศักดิ์ พงศ์โรจน์เผ่า
Department of Obstetrics and Gyneacology, Faculty of Medicine, Thammasat University, Bangkok 12120, Thailand.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของขิงในการป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังการผ่าตัดเปิดช่องท้องทางนรีเวชรูปแบบการวิจัย:  Double blind randomized controlled trialสถานที่:  สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วัสดุและวิธีการ: ศึกษาตั้งแต่ มีนาคม พ.ศ.2548- เมษายน พ.ศ.2549 ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดเปิดช่องท้อง ทางนรีเวช จำนวน 120 ราย อายุระหว่าง 20-60 ปี ได้ทำการแบ่งกลุ่มแบบสุ่ม เป็น 2 กลุ่มๆ และ 60 ราย กลุ่ม A จะได้รับยาขิง 2 แคปซูล (1 แคปซูลประกอบด้วยขิง 0.5 กรัม) 1 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด และกลุ่ม B จะได้รับยาหลอก ประเมิน Visual analogue score (VANS) จำนวนครั้งที่อาเจียน และผลข้างเคียงที่เวลา 2, 6, 12, และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ภายหลังการผ่าตัดในกลุ่มที่ได้รับยาขิง น้อยกว่าในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 29 ราย (48.3%) เทียบกับ 40 ราย (66.7%) ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาขิง มีค่า VANS ที่ 2 และ 6 ชั่วโมง ต่ำกว่าในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ที่เวลา 12 และ 24 ชั่วโมง ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวนผู้ป่วยและจำนวนครั้งที่อาเจียนในกลุ่มที่ไดรับยาขิง มีน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: ขิงมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการคลื่นไส้ ภายหลังการผ่าตัดเปิดช่องท้องทางนรีเวช
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, April ปีที่: 89 ฉบับที่ 0 หน้า S130-136
คำสำคัญ
Ginger, Nausea, Vomiting, Major gynecologic surgery