การศึกษาเปรียบเทียบการพ่นยา L – epinephrine กับ Salbutamol ในการรักษา Acute Bronchiolitis
ปิ่นมณี แซ่เตีย, ชาตรี พลสยม
กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมาของปัญหาAcute  bronchiolitis  คือโรคติดเชื้อที่ทำให้มีการอักเสบอย่างเฉียบพลันในหลอดลมฝอย  (Bronchioles)  สาเหตุส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส  เชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ  RSV  (Respiratory  Syncytial  Virus)  เชื้ออื่นที่พบได้  ได้แก่  Adenovirus  type  7, 3, 21, rhinovirus, influenza  virus, Parainfluenza  virus  และอื่น ๆ  โรคนี้พบในเด็กอายุต่ำกว่า  2  ปี  ที่พบมากคือ  อายุระหว่าง  3-6  เดือน  อาการและอาการแสดงมักเริ่มด้วยการน้ำมูกไหล  มีไข้ต่ำ ๆ  มีอาการไอนำมาก่อนประมาณ  2-3  วัน  ต่อมาเริ่มหายใจเร็ว  หอบ  และไอมาก  ทรวงอกโป่ง, ฟังเสียงหายใจ  ได้ยินเสียง  wheezing  ทั่ว ๆ  ปอด  การวินิจฉัย  Acute  bronchiolitis  อาศัยอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นสำคัญ  การตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจไม่จำเป็นถ้าอาการทางคลินิกชัดเจน  การรักษาโรคนี้  คือการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจโดยการให้ออกซิเจนและความชื้น  การให้ยาขยายหลอดลมโดยการให้สูดดมฝอยละอองยาทางหน้ากากโดยให้  Salbutamol  พ่น  มักไม่ค่อยได้ผล  เนื่องมาจาก  Bronchiolar  obstruction  เกิดจากการบวมของผนัง  Mucosa    และการสะสมของเสมหะมากกว่าการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบของทางเดินหายใจ  Kusum  Menon, MD.  และคณะทำการศึกษาที่ The  Children’s  Hospital  of  Eastern  Ontario  พบว่า  Epinephrine  มีประสิทธิภาพมากกว่า  Salbutamol  ในคนไข้  Acute  bronchiolitis            สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง  Salbutamol  กับ  L – epinephrine  มาก่อนคณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาครั้งนี้ขึ้น  เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่าง  Salbutamol  กับ  L – epinephrine โดยตั้งสมมติฐานว่า  L – epinephrine มีประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่า  Salbutamol
ที่มา
แพทยสารทหารอากาศ ปี 2546, September-December ปีที่: 49 ฉบับที่ 3 หน้า 12-18
คำสำคัญ
Acute Bronchiolitis, L – epinephrine, Salbutamol