การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างผู้สูงอายุที่ได้รับการฟอกเลือดและการล้างไตทางช่องท้อง
สาคร อินโท่โล่*, มัณฑนา เพชรคำ, ลาวัณย์ เพชรคำ, กรวิกา พรมจวงวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข E-mail: s_intolo@yahoo.co.th
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคไตวายระยะท้ายถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่ม ผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่ปฏิเสธการบำบัดทดแทนไตค่อนข้างสูงเนื่องจากมีความเชื่อและทัศนคติเชิงลบต่อการบำบัดทดแทนไต การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตวายระยะท้ายซึ่งได้รับการบำบัดทดแทนไตแต่ละวิธีจะช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าใจ และตระหนักถึงเป้าหมายที่สำคัญของการบำบัดทดแทนไต
วัตถุประสงค์การวิจัย: เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังที่รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียมและการล้างไตทางช่องท้อง
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคไตวายระยะท้าย จำนวน 126 คน ที่รับการ รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการล้างไตทางช่องท้อง โดยเข้ารับบริการสุขภาพ ณ โรงพยาบาลตติยภูมิ รับส่งต่อผู้ป่วยระดับกลาง (M1) แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต 9-THAI วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบที
ผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายของผู้สูงอายุกลุ่มฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ( = 37.58, S.D. = 15.02) และกลุ่มล้างไตทางช่องท้อง ( = 28.23, S.D. = 14.67) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพใจของ กลุ่มฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ( = 33.67, S.D. = 19.25) และกลุ่มล้างไตทางช่องท้อง ( = 34.05, S.D. = 16.45) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี การเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มพบว่า ทั้งคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพใจมีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุปผล: คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพใจของผู้สูงอายุที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตทั้งการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและล้างไตทางช่องท้องมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจึงเป็น เป้าหมายสำคัญของการให้บริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่ม
ข้อเสนอแนะ: สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาบริการสุขภาพเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตทั้งการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและล้างไตทางช่องท้อง
ที่มา
Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok ปี 2564, September-December
ปีที่: 37 ฉบับที่ 3 หน้า 105-116
คำสำคัญ
Renal replacement therapy, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชี่วิต, Quality-of-life, Older person, การบำบัดทดแทนไต, comparative study, การศึกษาเปรียบเทียบ