การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างคลื่นกระแทกกับคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง ในการรักษาผู้ป่วยข้อไหล่ติดระยะที่ 2: การทดลองแบบสุ่ม
บรรจงลักษณ์ กว้านสกุล*, อรอนงค์ เชื้อเกตุ
งานกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทคัดย่อ
ภาวะข้อไหล่ติดเป็นภาวะที่สัมพันธ์กับอาการปวดและจากัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ซึ่งส่งผลต่อการจำกัดการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย มีระยะเวลาในการดำเนินโรคนาน ไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ปัจจุบันมีผู้ป่วยมารับการรักษาโรคข้อไหล่ติดในงานกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มศว เป็นกลุ่มโรคสำคัญลำดับที่ 2 ของ 5 กลุ่มโรคที่มารับการรักษาทางกายภาพบำบัด ระยะเวลาในการรักษาตั้งแต่แรกรับ ถึงจำหน่ายผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 1 เดือน พบว่าเกิดปัญหาผู้ป่วยนั่งรอคิวรับการรักษาเป็นเวลานาน เมื่อรวมกับผู้ป่วยในโรคอื่น ๆ จึงมีความสนใจการใช้คลื่นกระแทกในการรักษาผู้ป่วยข้อไหล่ติดว่าสามารถลดอาการปวดและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวได้ดีเทียบเท่ากับการรักษาโดยใช้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูงหรือไม่ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดที่ลดลงและองศาการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นระหว่างการรักษาด้วยเครื่องคลื่นกระแทก และคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงในผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติดระยะที่ 2 วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะข้อไหล่ติดระยะที่ 2 จำนวน 42 คน ถูกจัดเข้ากลุ่มทดลองแบบสุ่ม จานวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 21 คน โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับการรักษาด้วยคลื่นกระแทกร่วมกับการรักษาโดยการดัด ดึงข้อไหล่ และได้รับการสอนวิธีการออกกำลังกายเฉพาะโรคด้วยตนเอง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 2 ได้รับการรักษาด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงร่วมกับการรักษาโดยการดัด ดึงข้อไหล่สัปดาห์ละ 5 ครั้ง และได้รับการสอนวิธีการออกกาลังกายเฉพาะโรคด้วยตนเอง 1 ครั้ง/สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินระดับความรู้สึกเจ็บปวดโดยใช้ Visual analog scale ประเมินองศาการเคลื่อนไหวของ ข้อไหล่โดยใช้ Universal Goniometer สัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยคลื่นกระแทกและการรักษาด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงมีองศาการเคลื่อนไหวหัวไหล่ในทิศทางยกแขน ขึ้นด้านหน้า หมุนแขนเข้าด้านใน หมุนแขนออกด้านนอก มือไขว้หลัง และระดับความรู้สีกเจ็บปวด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นองศาการเคลื่อนไหวในทิศทางกางแขนที่การรักษาด้วยคลื่นกระแทก เพิ่มขึ้นดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุปผลการวิจัย: การรักษาผู้ป่วยภาวะข้อไหล่ติดระยะที่ 2 ด้วยคลื่นกระแทกสามารถเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทุกทิศทาง ไม่แตกต่างกันแต่สามารถเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในท่ากางแขนได้ดีกว่าการใช้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูง
 
ที่มา
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปี 2566, January-June ปีที่: 15 ฉบับที่ 29 หน้า 1-17
คำสำคัญ
Frozen shoulder, คลื่นกระแทก, ข้อไหล่ติด, Radial Extracorporeal Shockwave Therapy, Shortwave Diathermy, Range of Motion of Glenohumeral, Pain Scale, คลื่นไฟฟ้าความถี่สูงเพื่อการรักษา, องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่, ระดับความรู้สึกเจ็บปวด