ผลของการออกกำลังกายฤๅษีดัดตนต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ความเครียด และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ
พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์, ขวัญสุดา แต้มสี, พิกุล ชัยทิพย์, ปริยาภัทร สิงห์ทอง*
คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทคัดย่อ
การที่ผู้สูงอายุไม่ออกกำลังกายเป็นประจาเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดความเครียด คุณภาพชีวิต
และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ การลดความเครียด และเพิ่มคุณภาพชีวิตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ดังนั้นงานวิจัยใน
ครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตนต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
ความดันโลหิต ความเครียด และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ กลุ่มตัวอย่าง
จานวน 22 คน อายุระหว่าง 60-75 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับการออกกำลังกายฤๅษีดัดตน
ครั้งละ 60 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการออกกำลังกาย ใช้สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย
เครื่องวัดความดันโลหิต แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง และแบบประเมินคุณภาพชีวิต
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ความดันโลหิตซิสโตลิกลดลง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการเต้นของหัวใจ และความเครียดลดลง ส่วนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลความเครียด และคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง พบว่า มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าการบริหารร่างกายฤๅษีดัดตน ช่วยลดความเครียด อัตราการ
เต้นของหัวใจ ความดันโลหิตซิสโตลิกให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกาลังกายเป็นประจำดีขึ้น
 
ที่มา
วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน ปี 2565, October-December ปีที่: 28 ฉบับที่ 4 หน้า 15-27
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, heart rate, ผู้สูงอายุ, Blood pressure, อัตราการเต้นของหัวใจ, คุณภาพชี่วิต, ฤๅษีดัดตน, ความดันโลหิต, Thai hermit exercise, Sedentary elderly