การเปรียบเทียบการแทงเข็มฟอกเลือดระหว่างวิธี Antegrade และ RetrogradeCannulation ที่เส้นฟอกเลือดชนิด Arteriovenous Fistula ต่อผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับกระบวนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
นพรัตน์ วิมูลชาติ*, นันทนา ชปิลเลส, บุญรักษา เหล่านภาพร, สุไลพร ลังบุบผา, จิตรดา ทองดี, วีระศักดิ์ อัศววงศ์อารยะ
หน่่วยไตเทีียม โรงพยาบาลนพรััตนราชธานีี แขวงคัันนายาว เขตคันนายาว กรุุงเทพมหานคร 10230
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: เส้นฟอกเลือดชนิด arteriovenous fistula (AVF) เป็นที่นิยมสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม โดยพบว่าการแทงเข็มฟอกเลือดที่ตำแหน่งใกล้ หลอดเลือดแดงมีวิธีการแทงเข็มฟอกเลือดสองวิธี ได้แก่ การแทงเข็มฟอกเลือดตามทิศทางการไหลของเลือดแดง เข้าสู่หัวใจ (antegrade) และการแทงเข็มฟอกเลือดทวนทิศทางตรงข้าม (retrograde) อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาถึงผลลัพธ์ทางคลินิกของกระบวนการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียมจากวิธีการแทงเข็มฟอกเลือดของทั้งสองวิธี วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบ ผลลัพธ์ทางคลินิกของกระบวนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจากวิธีการแทงเข็มฟอกเลือดแบบ antegrade และแบบ retrograde วิธีการ: การศึกษาใช้รูปแบบการสุ่ม randomized crossover design วิธีการแทงเข็มเส้นฟอกเลือดชนิด (AVF) แบบ antegrade (กลุ่มศึกษา) และ retrograde (กลุ่มควบคุม) โดยผู้ป่วยจะได้รับการสุ่มวิธีการแทงเข็มฟอก เลือดในครั้งแรก จากนั้นเมื่อผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือด ครั้งถัดไปจะใช้วิธีการแทงเข็มฟอกเลือดเป็นอีกวิธีหนึ่ง จากนั้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มดังต่อไปนี้ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ตัวแปรคุณลักษณะของการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม ตัวแปรผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ค่าความเพียงพอในการฟอกเลือด, ระยะเวลาในการกดห้ามเลือดหลัง ถอนเข็มฟอกเลือด, ปริมาณเปอร์เซ็นต์การไหลย้อนของเลือดที่ถูกฟอกแล้ว (percent of vascular access recirculation) และระดับความเจ็บปวดขณะแทงเข็มฟอกเลือด นอกจากนี้ ยังได้ทำการประเมินความพึงพอใจของพยาบาลไตเทียมต่อการแทงเข็มฟอกเลือดทั้งสองวิธีข้อมูลถูกนำเสนอในรูปแบบ จำนวน ร้อยละหรือรูปแบบค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มศึกษาด้วยสถิติ multivariable multilevel gaussian regression ผล: ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มาฟอกเลือดจำนวน 246 ครั้ง พบว่าผลลัพธ์ทางคลินิกของการแทงเข็มฟอกเลือด ทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างกัน ขณะที่พยาบาลไตเทียมมีความพึงพอใจต่อการแทงเข็มฟอกเลือดด้วยวิธี antegrade มากกว่าวิธี retrograde อย่างมีนัยสำคัญ สรุป: พยาบาล ไตเทียมสามารถแทงเข็มฟอกเลือดด้วยวิธี antegrade หรือ retrograde ให้กับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ตามความเหมาะสมโดยที่ผลลัพธ์ทางคลินิกไม่แตกต่างกัน
 
ที่มา
Journal of The Department of Medical Services ปี 2567, April-June ปีที่: 48 ฉบับที่ 2 หน้า 14-23
คำสำคัญ
Arteriovenous fistula, Antegrade cannulation, Retrograde cannulation, เส้นฟอกเลือดชนิดหลอดเลือดแดงต่อกับหลอดเลือดดำ, การแทงเข็มฟอกเลือดตามทิศทางการไหลของเลือด, การแทงเข็มฟอกเลือดทวนทิศทางการไหลของเลือด