คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจระยะที่สองภายหลังได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่โรงพยาบาลศิริราช
รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์, วรรธนะ ชลายนเดชะ, เปรมจิตร เจริญกุล*, เวทสินี เขื่องศิริกุล
Physical Therapy Unit, Department of Orthopaedic Surgery, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand. Telephone: 08-6772-6399, E-mail address: watesinee@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับ (กลุ่มศึกษา) และไม่ได้รับ (กลุ่มควบคุม) การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจระยะที่สอง หรือโปรแกรมการออกกำลังที่บ้าน ภายหลังได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยจำนวน 34 คน อายุระหว่าง 50-75 ปี แบ่งสุ่มผู้ป่วยร่วมกับการจับคู่อายุและเพศ ออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา โดยกลุ่มศึกษาได้รับโปรแกรมการเดินออกกำลังที่บ้านเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการติดตามอาการทางโทรศัพท์จากผู้วิจัย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และทำการประเมินคุณภาพชีวิต 2 ครั้ง ในวันที่ 6 และสัปดาห์ที่ 6 ภายหลังการผ่าตัด โดยใช้แบบสอบถาม SF-36 ฉบับภาษาไทยผลการศึกษา: หลังจากฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจระยะที่สองหรือโปรแกรมการออกกำลังที่บ้าน 6 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มศึกษามีพัมนาการมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มควบคุม ได้แก่ ความสามารถด้านแรงกาย (กลุ่มควบคุม vs กลุ่มศึกษา : (3.24 ±  18.70 vs 15.00 ±  18.54, p=0.038), ข้อจำกัดเรื่องของสุขภาพกาย (-1.47 ± 46.33 vs 41.18 ±  37.44, p=0.003), สุขภาพทั่วไป  (3.82 ±  10.61 vs 23.65 ±  26.61, p=0.005), พลังชีวิต (10.59 ±  24.42 vs 29.12 ±  17.87, p=0.009), กิจกรรมด้านสังคม (7.35 ±  27.97 vs 22.06 ±  17.98, p=0.039), การรายงานสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง (0.18 ฑ 1.01 vs -0.94 ฑ 0.97, p=0.007). แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง 2 กลุ่มของความเจ็บปวดทางกาย (-3.00 ±  30.50 vs 14.94 ± 36.95, p=0.066), emotional role-limitation (3.92 ±  56.37 vs 21.57 ±  35.24, p=0.141), และสุขภาพจิต (12.94 ±  24.02 vs 22.82 ±  16.05, p=0.084)สรุป: การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจระยะที่สองหรือโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน 6 สัปดาห์ สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในผู้ป่วยหลังผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
ที่มา
วารสารโรคหัวใจ ปี 2550, January ปีที่: 20 ฉบับที่ 1 หน้า 165-170
คำสำคัญ
Quality of life, Cardiac rehabilitation, Coronary artery bypass surgery