ผลของปริมาณคาเฟอีนต่อการฟื้นตัวของการทำงานของลำไส้หลังการผ่าตัดมะเร็งทางนรีเวช: การศึกษาทดลองแบบสุ่มปกปิดสองทาง
เยาวภา จิระวงศ์ประภา, โชคชัย โชติบูรณ์, ศรีสุดา ทรงธรรมวัฒน์, เอื้อมพร สุ่มมาตย์, เมธา ทรงธรรมวัฒน์*
Department of Obstetrics and Gynecology, UdonThani Hospital, UdonThani 41000, Thailand; E-mail: udonhome@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุ ประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของปริมาณคาเฟอีนที่แตกต่างกันต่อการฟื้นตัวของการทำงานของลำไส้หลังผ่าตัดมะเร็งนรีเวชทางหน้าท้อง
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาทดลองแบบสุ่มปกปิดสองทาง โดยผู้ป่วย 92 รายได้รับการลงทะเบียนและถูกจัดสรรให้อยู่ในกลุ่มหนึ่งในสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่ม 1 ได้รับคาเฟอีน 50 มิลลิกรัม (n = 46) หรือกลุ่ม 2 ได้รับคาเฟอีน 100 มิลลิกรัม (n = 46) ทั้งสองกลุ่มถูกกำหนดให้ดื่มกาแฟสามครั้งต่อวันหลังผ่าตัด ใน ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะโรคของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก รังไข่ และปากมดลูก ผลลัพธ์หลักคือการเปรียบเทียบเวลาที่ผายลมครั้งแรกหลังผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ผลลัพธ์รองคือเวลาที่ถ่ายอุจจาระครั้งแรก เวลาที่ลำไส้คลื่นไหวปกติและเวลาที่ทนต่อการรับประทานอาหารที่เป็นของแข็ง
ผลการศึกษา: เวลาเฉลี่ยของการผายลมครั้งแรกคือ 36.54 ชั่วโมงเทียบกับ 38.39 ชั่วโมง (p = 0.53) เวลาในการถ่ายอุจจาระครั้งแรกคือ 66.65 ชั่งโมงเทียบกับ 67.08 ชั่วโมง (p = 0.92) เวลาที่ได้ยินเสียงลำไส้ปกติคือ 26.61 ชั่วโมงเทียบกับ 29.41 ชั่วโมง (p = 0.16) ผลลัพธ์ทั้งหมดในทั้งสองกลุ่ม ในกลุ่มคาเฟอีน 100 มิลลิกรัมไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มคาเฟอีน 50 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ร้อยละ 15.22 ในกลุ่มคาเฟอีน 100 มิลลิกรัมมีอาการนอนไม่หลับเทียบกับร้อยละ 2.17 ในกลุ่มคาเฟอีน 50 มิลลิกรัม (p = 0.03)
สรุป: การดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีน 50 มิลลิกรัมหลังการผ่าตัดมะเร็งทางนรีเวชทางช่องท้องส่งผลต่อการฟื้นตัวของการทำงานของลำไส้ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากการดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีน 100 มิลลิกรัม แต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าและสามารถใช้เป็นการรักษาเพิ่มเติมในการดูแลหลังผ่าตัดได้
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2566, July-August ปีที่: 31 ฉบับที่ 4 หน้า 265-272
คำสำคัญ
Postoperative, หลังผ่าตัด, Gynecologic cancer, coffee, ileus, กาแฟ, ลำไส้หยุดทำงาน, มะเร็งทางนรีเวช