ผลการวิเคราะห์ต้นทุนค่าหัตถการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม Total Knee Arthroplasty ระยะผ่าตัด กรณี Premium คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ปัญจลักษณ์ นทีทวีวัฒน์ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพ E-mail: punjalux@nmu.ac.th
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมค่าหัตถการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty; TKA) ระยะผ่าตัด กรณี Premium (คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรคือผู้เข้ารับบริการผ่าตัด TKA กรณี Premium ตึกผ่าตัด 1 ชั้น 6 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2563 โดยมีเครื่องมือในการศึกษาคือแบบบันทึกข้อมูลต้นทุนกิจกรรมหัตถการ TKA ระยะผ่าตัด กรณี Premium แบบบันทึกข้อมูลระยะเวลากระบวนการก่อนผ่าตัด กระบวนการระยะผ่าตัด และกระบวนการหลังผ่าตัด TKA กรณี Premium จากการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจงพยาบาลประจาห้องผ่าตัดออร์โธปิดิกส์ที่ปฏิบัติงานผ่าตัด TKA กรณี Premium
ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมหัตถการ TKA ระยะผ่าตัด กรณี Premium มีต้นทุนที่วิเคราะห์ได้ต่อครั้งผ่าตัดเฉลี่ย 15,151 บาท แต่อัตราที่เรียกเก็บจากผู้ป่วย 12,000 บาท โดยในจานวนนี้มีสัดส่วนประเภทต้นทุนเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ต้นทุนค่าวัสดุ 7,937 บาท (คิดเป็นร้อยละ 52.39) ต้นทุนการพัฒนา 3,030 บาท (ร้อยละ 20) ต้นทุนค่าเสื่อมราคา 2,164 บาท (ร้อยละ 14.28) และต้นทุนบริหารจัดการ 2,020 บาท (ร้อยละ 13.33) เมื่อแจกแจงต้นทุนค่าหัตถการฯ ต่อครั้งผ่าตัดตามกระบวนการพยาบาลพบว่าสัดส่วนต้นทุนกระบวนการผ่าตัดมีต้นทุนสูงสุด 14,021 บาท (ร้อยละ 92.5) รองลงไปคือกระบวนการเสร็จสิ้นการผ่าตัด 672 บาท (ร้อยละ 4.4) และกระบวนการเตรียมการก่อนลงมือผ่าตัดมีต้นทุนเท่ากับ 458 บาท (ร้อยละ 3.0)
ที่มา
Vajira Nursing Journal ปี 2567, January-June
ปีที่: 26 ฉบับที่ 1 หน้า 41-55
คำสำคัญ
Total knee arthroplasty, Cost analysis, การวิเคราะห์ต้นทุน, ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, activity-based costing, ต้นทุนกิจกรรม