ประสิทธิผลของการรำไม้พลองต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ
กล้วยไม้ พรหมดี, นฤมล ลีลายุวัฒน์*, พรรณี ปึงสุวรรณ, รัตนวดี ณ นคร, วิภา ศรัทธาบุญ
Department of Physiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand 40002
บทคัดย่อ
บทนำ ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำและมีน้ำหนักเกินกว่าปกติ มักมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายเป็นประจำได้รับการยอมรับว่ามีผลเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดความอ้วน ทำให้ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองเป็นประจำ จึงน่าจะลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ที่สำคัญคือ การรำไม้พลองเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ทำได้ง่ายและเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย มากกว่าโปรแกรมการออกกำลังกายแบบตะวันตกวัตถุประสงค์ งานวิจัยนี้มุ่งหวังศึกษาผลของการรำไม้พลองต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้สูงอายุสุขภาพปกติที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำสถานที่ที่ทำการศึกษา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นรูปแบบการวิจัย A single blind randomized controlled trialวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาในอาสาสมัครที ่มีสุขภาพปกติ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายอายุ 55-70 ปี ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งถูกสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (71 คน) และกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบรำไม้พลอง (71 คน) เป็นประจำวันละ 40 นาที 3-5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 15 สัปดาห์ และ ทุกคนได้รับการตรวจวัดโครงสร้างและส่วนประกอบของร่างกาย ความยืดหยุ่นของร่างกายระยะทางที่เดินได้ ใน 6 นาที และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ก่อนและหลัง15 สัปดาห์ผลการศึกษา การออกกำลังกายแบบรำไม้พลองมีผลลดน้ำหนักตัวลดมวลไขมันในร่างกาย ลดเส้นรอบวงของเอวและสะโพก เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายระยะทางที่เดินได้ใน 6 นาที และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายทั้งหมด และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตใจในส่วนของความมีพลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติวิจารณ์และสรุป งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบรำไม้พลอง ทำให้คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายทั้งหมด และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตใจในส่วนของความมีพลังเพิ่มขึ้น และลดความอ้วน ดังนั้นการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองซึ่งเป็นการออกกำลังกาย รูปแบบที่ง่ายและทำให้เกิดแรงกระแทกน้อย จึงเป็นวิธีการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุสุขภาพปกติที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำและไม่สามารถออกกำลังกายในรูปแบบตะวันตกที่เป็นที่นิยม
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2551, March-April ปีที่: 52 ฉบับที่ 2 หน้า 107-121
คำสำคัญ
elderly, Flexibility, Obesity, Physical health status, Thai Wand Exercise Training, การฝึกออกกำลังกายแบบรำไม้พลอง, ความยืดหยุ่น, ผู้สูงอายุ, สุขภาพทางกาย, โรคอ้วน