เปรียบเทียบอุบัติการณ์เจ็บคอหลังระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจ ระหว่างการพ่นท่อช่วยหายใจร่วมกับพ่นคอหอยด้วยยาเบนไซดรามีนไฮโดรคลอไรด์ และยาหลอก
ศมณกร อนิวรรตกูล*, กฤติน กิตติกรชัยชาญ, อาภากร อัสวะวิสิทธิ์ชัย, นริศ เจียรบรรจงกิจ
สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาะ
บทคัดย่อ
 บทนำ ภาวะเจ็บคอหลังผ่าตัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป โดยมีอุบัติการณ์ได้มาก ถึงร้อยละ 60 เบนไซดรามีนไฮโดรคลอไรด์เป็นยาที่นำมาใช้ ในการรักษาอาการเจ็บคอ มีฤทธิ์ลดปวด และต้านการอักเสบ วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์เจ็บคอหลังระงับความรู้สึกทั่วไปที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจ ระหว่างการพ่นท่อช่วยหายใจร่วมกับพ่นคอหอย ด้วยยาเบนไซดรามีนไฮโดรคลอไรด์ และยาหลอก (normal saline) วิธีกรศึกษาเป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีตัวแปร ควบคุมแบบปกปิดสองด้าน ในผู้ ป่วยที่มารับการผ่าตัด ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา 102 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เท่ากัน ทั้ง สองกลุ่มจะได้รับการระงับความรู้สึกทั่วไปที่มีการใส่ท่อช่วยหายใจ กลุ่ม B (Benzydamine hydrochloride group) จะได้รับการพ่น เบนไซดรามีนไฮโดรคลอไรด์ที่คอหอยและกระเปราะลมของท่อช่วยหายใจ กลุ่ม C (Control group) จะได้รับการพ่นยาหลอก เมื่อ การผ่าตัดสิ้นสุดลง มีการเก็บข้อมูลคะแนนความเจ็บคอ และผลข้างเคียงของการทดลอง ได้แก่ อาการชาบริเวณคอ ความรู้สึกแสบ ร้อนบริเวณคอ และอาการปากแห้ งที่ 1, 4 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ผลกรศึกษาอุบัติการณ์เจ็บคอหลังผ่าตัดในกลุ่มทดลอง น้อย กว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่เวลา 1 และ 4 ชั่วโมงหลังผ่าตัด (p = 0.027 และ 0.017 ตามลำดับ) และผลข้างเคียง ของการศึกษาในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุป การพ่นท่อช่วยหายใจร่วมกับพ่นคอหอยด้วยเบนไซดรามีนไฮโดรคลอไรด์ ช่วยลด อุบัติการณ์เจ็บคอหลังผ่าตัดที่ 1 และ 4 ชั่วโมงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไม่เพิ่มผลข้างเคียง
 
ที่มา
เวชสารแพทย์ทหารบก ปี 2566, January-March ปีที่: 76 ฉบับที่ 1 หน้า 27-34
คำสำคัญ
เจ็บคอหลังผ่าตัด, Benzydamine hydrochloride, Endotracheal tube, Post operative sore throat, เบนไซด์ดรามีนไฮโดรคลอไรด์, ท่อช่วยหายใจ