การทดลองแบบสุ่มเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาแผลจากคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ด้วยวัสดุปิดแผลที่ทำจากเซลลูโลสของแบคทีเรียเปรียบเทียบกับแผ่นตาข่ายเคลือบปิโตรลาตุม
ศิริลักษณ์ ชำนาญเวช, สิธาวีย์ จิตต์ศิริ, เอกสักถ์ จันทรปรรณิก*
กองวิสัญญีวิทยาและห้องผ่าตัด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
บทคัดย่อ
บทนำ ภาวะเจ็บคอหลังการผ่าตัด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ หลังการดมยาสลบและใส่ท่อช่วยหายใจ แม้ ว่าอาการเจ็บคอจะไม่ รุนแรงแต่พบได้บ่อย และเป็นเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายหลังผ่าตัด ในรายที่เจ็บคอรุนแรง อาจมีผลกระทบกับกิจกรรมในชีวิต ประจำวัน และทำให้ ความพึงพอใจในการผ่าตัดลดลง การบรรเทาอาการเจ็บคอนี้มีหลายวิธีแต่ยังไม่มียาหรือวิธีใดที่เป็นที่ยอมรับโดย ทั่วไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปาก ในการลดอัตราการเกิดและความรุนแรงของอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัด วิธีการ ผู้ป่วยที่มาเข้ารับการผ่าตัดด้วยการดมยาสลบผ่านท่อช่วยหายใจจำนวน 120 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับ การดมยาสลบและใส่ท่อช่วยหายใจเหมือนกันตามปกติ เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัดกลุ่มควบคุมจะถอดท่อช่วยหายใจตามขั้ นตอนปกติ ส่วน กลุ่มทดลองจะใช้ น้ำยาบ้วนปากกลั้วคอก่อนถอดท่อช่วยหายใจ 5 นาที หลังจากนั้นผู้ ป่วยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการประเมินอาการเจ็บ คอที่เวลา 1, 2 และ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ผลกรวิจัย อุบัติการณ์ของอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัดในทั้ง 2 กลุ่มเกิดขึ้นสูงสุดที่ 2 ชั่วโมงหลังถอดท่อช่วยหายใจ โดยทั้งอุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัดในผู้ ป่วยกลุ่มทดลองที่ใช้ น้ำยาบ้ วน ปากกลั้วคอพบว่าเกิดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลา 1, 2 และ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด สรุป การใช้ น้ำยาบ้ วน ปากกลั้ วคอก่อนถอดท่อช่วยหายใจ ช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของการเกิดอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัด
 
ที่มา
เวชสารแพทย์ทหารบก ปี 2566, October-December ปีที่: 75 ฉบับที่ 4 หน้า 55-63
คำสำคัญ
Carbon dioxide laser, Wound dressing, Bacterial cellulose, Ablative wound, วัสดุปิดแผล, เซลลูโลสของแบคทีเรีย, แผลคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์