การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการใช้วิธีสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ ตัวช่วย และวิธีสอนดั้งเดิมในการตรวจลานสายตาผู้ป่วย
วิศนี ตันติเสว, หญิง สุพัฒนวงศ์*
Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.
บทคัดย่อ
บทนำ การตรวจลานสายตาด้วยคอมพิวเตอร์แบบมาตรฐานเป็นวิธีตรวจลานสายตาโรคต้อหินที่เป็นที่ยอมรับใช้กันทั่วไป การแปลผลที่ถูกต้องขึ้นกับความน่าเชื่อถือของการตรวจวัด ซึ่งแสดงออกผ่านทางดัชนีความน่าเชื่อถือวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้วิธีการสอนผู้ป่วยที่จะรับการตรวจวัดลานสายตา โดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (เกมคอมพิวเตอร์) เปรียบเทียบกับวิธีการสอนแบบดั้งเดิม (ใช้เอกสาร) ต่อผลดัชนี ความน่าเชื่อถือของการตรวจวัดลานสายตาสถานที่ที่ทำการศึกษา คลินิกผู้ป่วยนอก ฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย การศึกษาแบบสุ่มและเป็นการศึกษาไปข้างหน้าผู้ป่วยที่ได้ทำการศึกษา ผู้ป่วยที่จะรับการตรวจวัดลานสายตา ในช่ วงระหว่างเดือนมีนาคม 2548 ถึง เดือนสิงหาคม 2548 และเป็นผู้ป่วยใหม่ ไม่เคยได้รับการตรวจวัดมาก่อนวิธีการศึกษา ผู้ป่วย 35 คน และ 37 คน ช่วงอายุระหว่าง 40 - 75 ปีถูกสุ่มเลือกให้ได้รับวิธีการสอนโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย และวิธีการสอนแบบดั้งเดิมตามลำดับก่อนที่จะรับการตรวจวัดลานสายตา ผลการศึกษาดูจากดัชนีความน่าเชื่อถือของการตรวจวัดลานสายตา คือ อัตราส่วนของการไม่จ้องมองที่เป้าจ้องมอง (Fixation losses) และอัตราส่วนของผลบวกเทียม (False positive rate)ผลการศึกษา ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับวิธีการสอนโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยมี ค่าเฉลี่ย ±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของอัตราส่วนการไม่จ้องมองที่เป้าจ้องมองและ อัตราส่วนผลบวกเทียม (0.23 ± 0.29 และ 0.06 ± 0.11) สูงกว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับวิธีการสอนแบบดั้งเดิม (0.15 ± 0.23 และ 0.03 ±0.05) นอกจากนี้อัตราส่วนผลบวกเทียมในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับวิธีการสอนแบบดั้งเดิมยังต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้ได้รับวิธีการสอนโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการศึกษานี้ดูเหมือนว่าวิธีการสอนแบบดั้งเดิมจะให้ความน่าเชื่อถือของการตรวจวัดลานสายตาได้มากกว่าวิจารณ์และสรุป วิธีการสอนการตรวจวัดลานสายตาโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ไม่ได้เปลี่ยนแปลงดัชนีความน่าเชื่อถือไปจากวิธีการสอนแบบดั้งเดิม เมื่อพิจารณาวิธีการสอนโดยการใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการศึกษานี้ ควรมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการให้ดีขึ้น หากเชื่อว่าการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ยังเป็นประโยชน์อยู่  
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2550, May-June ปีที่: 51 ฉบับที่ 5 หน้า 263-271
คำสำคัญ
Computer-assisted instruction, Conventional instruction, False positive rate, Fixation losses, Standard automated perimetry, การตรวจลานสายตาด้วยคอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน, วิธีการสอนการตรวจวัดลานสายตาแบบดั้งเดิม, วิธีการสอนการตรวจวัดลานสายตาโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย, อัตราส่วนของการไม่จ้องมองที่เป้าจ้องมอง, อัตราส่วนของผลบวกเทียม