โครงการเปรียบเทียบยาระบายน้ำมันละหุ่งและเกลือฟอสเฟตใช้ในการเตรียมลำไส้ ก่อนการตรวจทางรังสีระบบทางเดินปัสสาวะด้วยการฉีดสารทึบรังสี
พนิดา พันธุรัตน์
Department of Radiology, Nong Khai hospital, Mechai Road, Muang Nong Khai, 43000. Thailand
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยที่เตรียมลำไส้ก่อนตรวจ Intravenous pyelography (IVP) ไม่ดีจะมีอุจจาระตกค้างมาก ต้องเลื่อนการตรวจออกไปสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์ของยาระบายน้ำมันละหุ่งและเกลือฟอสเฟตที่ใช้ในการเตรียมลำไส้ก่อนการตรวจ IVPวัสดุและวิธีการ: ยาระบายถูกจ่ายแบบสุ่มให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัย 100 คน (น้ำมันละหุ่ง 50 คน และเกลือฟอสเฟต 50 คน) รังสีแพทย์ประเมินปริมาณอุจจาระตกค้างในลำไส้ อาการไม่พึงประสงค์ของยาและรสชาติใช้แบบสอบถามรูปแบบการศึกษา: Prospective, double blind, randomized, controlled, clinical trialสถานที่ศึกษา: กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลหนองคายการวัดผล: ใช้โปรแกรม Epilnfo 2002 ในการคำนวณทางสถิติค่าแสดงเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบด้วย unpaired t-test ค่าแสดงเป็นร้อยละทดสอบด้วย Chi square-Mantel-Haenszel testผลการวิจัย: กลุ่มเกลือฟอสเฟตมีประสิทธิผลดีกว่ากลุ่มน้ำมันละหุ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) อาการไม่พึงประสงค์ของยาและรสชาติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05) สรุป: ยาระบายฟอสเฟตมีประสิทธิผลดีกว่าน้ำมันละหุ่งส่วนอาการไม่พึงประสงค์ของยาและรสชาติไม่แตกต่างกัน
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2551, January-March ปีที่: 23 ฉบับที่ 1 หน้า 107-112
คำสำคัญ
Bowel preparation, castor oil, evacuants, intravenous pyelography, sodium phosphates, การเตรียมลำไส้, น้ำมันละหุ่ง, ยาระบาย, เกลือฟอสเฟต