ประสิทธิผลของสารสกัดว่านหางจระเข้เปรียบเทียบกับ omeprazole ในการรักษาโรคกรดไหลย้อน
ฐานิดา มานิตย์โชติพิสิฐ*, มาศ ไม้ประเสริฐสาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 Email: wowthanida@gmail.com
บทคัดย่อ
โรคกรดไหลย้อนเป็นภาวะเรื้อรังที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนกลางอกและเรอเปรี้ยวเป็นอาการเด่น ซึ่งส่งผลรบกวนต่อคุณภาพชีวิตได้ การรักษาประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาลดการหลั่งกรดใน กระเพาะอาหาร แต่การรับประทานยาลดกรดเป็นเวลานานในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีภาวะกรดในกระเพาะอาหารเกินทำให้ เกิดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบและทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของหลอดอาหาร ในระยะยาว ทั้งนี้สารสกัดว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวดและ ต้านจุลินทรีย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดว่านหางจระเข้ชนิดแคปซูล 70 มิลลิกรัม เปรียบเทียบกับ omeprazole ในการลดความถี่อาการและความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อนเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิธีการศึกษาเป็นรูปแบบการทดลองแบบสุ่ม โดยทำแบบประเมินความถี่อาการและความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อน ประกอบด้วย 5 อาการ ได้แก่ แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว กลืนลำบาก ท้องอืด และคลื่นไส้/อาเจียน แล้วนัดมาติดตาม ที่ 2 และ 4 สัปดาห์ เพื่อเปรียบเที ยบความถี่ของการเกิดอาการและความรุนแรงของแต่ละอาการด้วยสถิติ Generalized Estimating Equations สำหรับข้อมูลต่อเนื่องที่วัดซ้ำและมี correlation แบบตัวแปรพหุ จากการศึกษาพบว่าสารสกัด ว่านหางจระเข้ลดความถี่อาการกลืนลำบากและลดความรุนแรงอาการแสบร้อนกลางอกได้ดีกว่า omeprazole อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ โดยความถี่เฉลี่ยของอาการกลืนลำบากในกลุ่มสารสกัดว่านหางจระเข้ลดลง 0.12 ครั้งต่อสัปดาห์ เปรียบเทียบกับ omeprazole ลดลง 0.04 ครั้งต่อสัปดาห์ที่ p-value 0.042 และความรุนแรงของอาการแสบร้อนกลาง อกในกลุ่มสารสกัดว่านหางจระเข้ลดลง 2.31 คะแนนต่อสัปดาห์ เปรียบเทียบกับ omeprazole ลดลง 1.40 คะแนนต่อ สัปดาห์ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value 0.036 แต่มีรายงานอาการปวดท้องและท้องเสียหลังใช้สาร สกัดว่านหางจระเข้ ดังนั้นจึงอาจใช้สารสกัดว่านหางจระเข้เป็นทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการโรคกรดไหลย้อนได้
ที่มา
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2565, September-December
ปีที่: 20 ฉบับที่ 3 หน้า 437-448
คำสำคัญ
Omeprazole, gastroesophageal reflux disease (GERD), Aloe vera extract capsule, โรคกรดไหลย้อน, ยา omeprazole, สารสกัดว่านหางจระเข้ชนิดแคปซูล