การเปรียบเทียบประสิทธิผลการกระตุ้นการไหลของนํ้านมระหว่างการบีบเก็บนํ้านมด้วยมือกับการใช้เครื่องปั๊มนมในมารดาหลังคลอดที่แยกจากทารกแรกเกิดหลังการคลอด โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
นันทนา วัชรเผ่า*, พนิตนาฎ โชคดี, โสภิดา ชูขวัญ, วรรพุธษา สุขจิตร
งานสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 38 ถ.เจษฎาบดินทร์ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 อีเมล์ : normalgirl09@gmail.com
บทคัดย่อ
ความสำคัญ: ในเด็กป่วย นมแม่ เสมือนเป็นยา รักษาโรค ที่ช่วยให้ทารกป่วยมีสุขภาพดี เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำ หรับทารกเปรียบเสมือนเป็นทั้งวัคซีนเป็นตัวช่วยกระตุ้น ให้ทารกมีภูมิต้านทานเชื้อโรค ช่วยลดการติดเชื้อของทารก มารดาที่ต้องเผชิญกับการแยกจาก ทารกที่ป่วยซึ่งไม่สามารถดูดนมมารดาจากเต้าได้โดยตรง จำ เป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากพยาบาล มารดาหลังคลอดต้องได้รับการกระตุ้นการบีบเก็บ
น้ำนมอย่างถูกวิธี เพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมและน้ำนมเพียงพอกับความต้องการของทารก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปริมาณการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอดที่แยกจากทารกตั้งแต่แรกเกิดที่ได้รับการกระตุ้นการไหลของน้ำนมโดยวิธีบีบเก็บน้ำนมด้วยมือเปรียบเทียบกับมีการใช้เครื่องปั๊มนมร่วมด้วยในช่วง 3 วันแรก
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิง Efficacy รูปแบบ Intervention interrupted time series ในมารดาหลังคลอด จำนวน 50 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มบีบมือ และกลุ่มใช้เครื่องปั๊มนม กลุ่มละ 25 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565
วิธีการศึกษา: มารดาทั้งสองกลุ่มได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลมารดาหลังคลอด ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัว และข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการกระตุ้นการไหลของน้ำนมโดยเร็วหลังคลอด มีการสอนสาธิต การบีบเก็บน้ำนมด้วยมือตั้งแต่แรกรับทั้งสองกลุ่ม ในวันที่ 2 และ 3 จะสอน สาธิต กลุ่มที่ใช้เครื่องปั๊มนม ประเมินเก็บข้อมูล บันทึกปริมาณน้ำนมตั้งแต่แรกรับ จนครบ 3 วันหลังคลอด เปรียบเทียบกลุ่มที่ศึกษาโดยใช้การแจกแจงความถี่ และใช้สถิติ t-test, Fisher’s exact probability test and mean difference regression.
ผลการศึกษา: ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยแรกรับ ไม่แตกต่างกัน ปริมาณน้ำนมของวันที่ 1 เฉลี่ย 3 (2-5) และ 1(0-2) มล. ในกลุ่มบีบมือและกลุ่มใช้เครื่องปั๊มตามลำดับ (p=0.001) วันที่ 2 ปริมาณน้ำนม เฉลี่ย 25 (13-33) และ 4 (2-10.5) มล. ในกลุ่มบีบมือและกลุ่มใช้เครื่องปั๊มตามลำดับ (p<0.001) และ วันที่ 3 ปริมาณน้ำนม เฉลี่ย 78 (50.2-154) และ 14(5-25) มล. ในกลุ่มบีบมือ และกลุ่มใช้เครื่องปั๊มตามลำดับ (p<0.001)
สรุป: ในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด การบีบเก็บน้ำนมด้วยมือจะช่วย เพิ่มปริมาณน้ำนมได้ดีกว่า การใช้เครื่องปั๊มนม พยาบาลผู้ดูแล จะต้องมีความชำ นาญในการช่วยเหลือมารดาหลังคลอด โดยช่วยส่งเสริมให้มารดามีการกระตุ้นการไหลของน้ำนม หลังจาก 3 วันขึ้นไปมารดาสามารถใช้วิธีบีบเก็บน้ำนมด้วยมือร่วมกับการใช้เครื่องปั๊มนมได้ จะช่วยให้ทารกป่วยได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอ
 
ที่มา
Health Science Clinical Research ปี 2565, January-June ปีที่: 37 ฉบับที่ 1 หน้า 58-70
คำสำคัญ
breast feeding, breast milk stimulations, manual expression, electric breast pumps, การให้นมบุตร, การกระตุ้นนํ้านม, การบีบเก็บนํ้านมด้วยมือ, การใช้เครื่องปั๊มไฟฟ้า