การเปรียบเทียบค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดแดงระหว่างการให้ออกชิเจนทางจมูก 30 นาที กับ 60 นาที ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
นภัทร อินทร์ติยะ*, นงลักษณ์ สุภักดิ์กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลนครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือด ระหว่างการให้ออกชิเจนทางจมูก 30 นาที กับ 60 นาที ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงประสิทธิผล รูปแบบ randomized controlled trial เก็บรวบรวมข้อมูลแบบไปข้างหน้า prospective ที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือน ตุลาคม 2563 –ธันวาคม 2563 ในผู้ป่วยได้รับการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย จำนวน 160 ราย สุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังผ่าตัดด้วยวิธี block of four randomization โดย opened envelope เข้ากลุ่มรูปแบบการให้ออกซิเจนในพักฟื้น 2 วิธี เป็นกลุ่มที่ได้รับออกซิเจนทางจมูก 30 นาที 80 ราย และกลุ่มที่ได้รับออกซิเจนทางจมูก 60 นาที 80 ราย ติดตามความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดที่พักฟื้น 4 ครั้ง คือ นาทีแรกรับ นาทีที่ 15, 30, 45 และ 60 นาที ก่อนจำหน่ายออกจากห้องพักฟื้น ประเมินคะแนนตามเกณฑ์จำหน่ายจากพักฟื้น
ผลการศึกษา : รูปแบบการให้ออกซิเจนในห้องพักฟื้นทางจมูก 30 นาที หลังผ่าตัดและระงับความรู้สึกทั่วร่างกายมีค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดนาทีที่ 30 และ 60 ไม่แตกต่างเมื่อเทียบการให้ออกซิเจน 60 นาที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.816 และ 0.143 ตามลำดับ และค่า upper bound of 95%CI ของ Mean oxygen saturation ratio น้อยกว่า 1.5 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 0.998 (95%CI = 0.537-1.376) การให้ออกซิเจน 30 นาที มีประสิทธิภาพในการรักษาระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไม่ด้อยกว่าการให้ออกซิเจน60 นาที สามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการให้ออกซิเจนทางจมูกในการพยาบาลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายที่ห้องพักฟื้นได้
สรุป : ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดโดยใช้วิธีระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย การให้ออกซิเจนหลังผ่าตัดเป็นระยะเวลา 30 นาที มีประสิทธิภาพในการรักษาระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไม่ด้อยกว่าการให้ออกซิเจน60 นาที สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการให้ออกซิเจนผู้ป่วยในห้องพักฟื้นหลังผ่าตัดและได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย เพื่อความเหมาะสมและปลอดภัย
ที่มา
Nakhonphanom Hospital Journal ปี 2564, May-August
ปีที่: 8 ฉบับที่ 2 หน้า 54-64
คำสำคัญ
General anesthesia, ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด, oxygen supplement, post anesthesia recovery care unit, การระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย, การพยาบาลผู้ป่วยห้องพักฟื้น