การใช้ลูกประคบสมุนไพรไทยเย็นเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ไพลิน เกษมสินธุ์
แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ลูกประคบเย็นในการลดระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทำงหน้าท้อง
วัสดุและวิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาโดยการสุ่ม  เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ลูกประคบเย็น  เกณฑ์คัดเลือก   ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วยหญิงตั้งครรภ์อายุระหว่าง  18  ถึง  40  ปีที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มศึกษาจะได้รับการประคบด้วยลูกประคบเย็น และกลุ่มควบคุมจะได้รับการประคบด้วยลูกประคบอุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา  6  ชั่วโมงหลังผ่าตัด  ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับกํารประเมินระดับความเจ็บปวด ที่ระดับศูนย์ถึงสิบ โดยประเมินที่ 0, 2, 6 และ 12 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดคลอด ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมการศึกษา  ข้อแทรกซ้อน จะได้รับการบันทึกผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 58 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มศึกษา 27 คน และ กลุ่มควบคุม 31 คน ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานในด้าน อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ โรคประจําตัว จํานวนการตั้งครรภ์ จํานวนบุตร และข้อบ่งชี้การผ่าตัด จาการศึกษาพบว่าคะแนนความเจ็บปวดทันที และ สองชั่วโมงหลังการผ่าตัดของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ  แต่คะแนนความเจ็บปวดที่เวลา 6  และ 12  ชั่วโมงหลังผ่าตัดในกลุ่มศึกษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ  ผลลัพธ์รองพบว่าปริมาณการใช้ยาopioid ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดของกลุ่มศึกษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ไม่พบข้อแทรกซ้อนในการศึกษาครั้งนี้ข้อสรุป: ลูกประคบเย็นสามารถเป็นการรักษาเพิ่มเติมเพื่อลดภาวะความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตรได้ ในการศึกษานี้พบว่าในกลุ่มที่วางลูกประคบเย็นมีระดับความเจ็บปวดที่ลดลงที่เวลา 6 และ 12ชั่วโมง และพบว่ามีปริมาณการใช้ยาระงับปวดที่น้อยกว่ากลุ่มควบคุม
 
ที่มา
Nakhonphanom Hospital Journal ปี 2563, September-December ปีที่: 7 ฉบับที่ 3 หน้า 14-23
คำสำคัญ
pain, Cesarean delivery, ความเจ็บปวด, ลูกประคบ, ผ่าตัดคลอด, cold, Compress Ball, ความเย็น