การใช้ยาออกซ์คาร์บาซีปีนยาเสริมในผู้ป่วยลมชักชาวไทยที่มีอาการชักชนิดบางส่วนซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยากันชักที่ใช้อยู่
มยุรี ตันติสิระ*, เพทิสรา ไกรปราบ, โยธิน ชินวลัญซ์
Department of Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University,Bangkok 10330, Thailand. Phone 0-2218-8324, Fax: 0-2218-8326, E-mail address: tmayuree@chula.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาออกซ์คาร์บาซีปีนเมื่อใช้ในรูปแบบเป็นยาเสริมในผู้ป่วยลมชักชาวไทยที่มีอาการชักชนิดบางส่วนซึ่งไม่สามารถควบคุมการชักได้ด้วยยาที่ใช้อยู่วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยซึ่งไม่สามารถควบคุมอาการชักชนิดบางส่วน (มีอาการชักเฉลี่ยอย่างน้อย 2 ครั้ง ในเวลา 28 วัน) จำนวน 39 คน ถูกประเมินโดยการศึกษาแบบสุ่ม ปิดบังทั้ง 2 ด้าน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มให้รับประทานยาออกซ์คาร์บาซีปีนในขนาด 600 และ 1200 มิลลิกรัม/วัน ร่วมกับยากันชักที่ผู้ป่วยได้รับอยู่เดิมผลการศึกษา: มีผู้ป่วยจำนวน 35 คนที่อยู่จนเสร็จสิ้นการศึกษาเป็นเวลา 98 วัน ในจำนวนนั้นมีผู้ป่วยที่ไม่มีอาการชักเลยจำนวน 4 คน ค่ามัธยฐานเปอร์เซ็นต์ความถี่ของการชักที่ลดลงในผู้ป่วยที่ได้รับยาออกซ์คาร์บาซีปีนในขนาด 600 และ 1200 มิลลิกรัม/วัน เท่ากับ 47% และ 58% ตามลำดับ และพบว่าผู้ป่วยที่มีความถี่ของการชักลดลงอย่างน้อย 50% มีค่าเท่ากับ 44% และ 53% ตามลำดับ ในกลุ่มที่ได้รับยาขนาด 600 และ 1200 มิลลิกรัม/วัน ตามลำดับ ระหว่างการศึกษามีผู้ป่วยประมาณ 85% จากทั้ง 2 กลุ่มที่รายงานอาการไม่พึงประสงค์อย่างน้อย 1 ชนิดจากการใช้ยาซึ่งอาการดังกล่าวอยู่ในระดับรุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, March ปีที่: 88 ฉบับที่ Suppl 3 หน้า S193-201
คำสำคัญ
Add-on therapy, Antiepileptic drug, Oxcarbazepine, Partial seizure