เปรียบเทียบการใช้ gauze, sponge และ swab ในการทำแผลแบบระบบสุญญากาศผู้ป่วยแผลเรื้อรัง Wound Center โรงพยาบาลนครพนม
อรรจจิมา ศรีชนม์*, ุยุพิน เชื้อพันธุ์, ชัญญานุช อินทร์ติยะ
หอผู้ป่วยศัลยกรรมเอื้ออารีย์ (Wound Center) กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุปกรณ์ที่มีอยู่ในบริบทของโรงพยาบาล ซึ่งมี 3 ชนิด คือ gauze, sponge และ swab ใช้ในกําร apply negative pressure wound therapy เพื่อเปรียบเทียบการงอกขยายของเนื้อแผล, ระยะเวลาการหายของแผล,  ระดับความปวดขณะทำแผล  และค่าใช้จ่ายในการรักษา  โดยใช้  gauze,  sponge  และ  swab  ในการ     ทำแผลแบบระบบสุญญากาศในผู้ป่วยแผลเรื้อรัง Wound Center โรงพยาบาลนครพนม
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษา therapeutic research รูปแบบ randomized ที่ Wound Centerโรงพยาบาลนครพนม ในผู้ป่วยกลุ่ม chronic wound ที่ได้รับการ management wound ด้วย negative pressure wound  therapy  ระหว่างเดือน  กันยายน  2560  ถึง  มีนาคม  2561  จำนวน  63  ราย  ศึกษาในผู้ป่วยกลุ่ม  chronic wound เปรียบเทียบการใช้ gauze (จำนวน 21 ราย), sponge (จำนวน 21 ราย) และ swab (จำนวน 21 ราย) วิเคราะห์ลักษณะทั่วไปด้วย one-way ANOVA และ exact probability test วิเคราะห์การงอกขยายของเนื้อแผล, ระยะเวลาการหายของแผล, ระดับความปวดขณะทำแผล และค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย multivariable regression เพื่อปรับความแตกต่างด้าน ชนิดของแผล และ โรคประจำตัว
ผลการศึกษา : ภายหลังปรับ type of wound ที่แตกต่างกัน และโรคประจำตัวที่มีแนวโน้มต่างกัน กํารใช้ gauze apply negative pressure wound therapy ทำให้ผู้ป่วยมีความปวดขณะทำแผล และค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยที่สุด (p<0.001) ระยะเวลาการหายของแผลเฉลี่ย 13 วัน
ข้อสรุป  :  การใช้  gauze  ทำแผลแบบระบบสุญญากาศ  ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดขณะทำแผล  และค่าใช้จ่าย   ในการรักษาน้อยที่สุด ในขณะที่ กํารใช้ sponge ใช้ระยะเวลาการหายของแผลน้อยที่สุด แต่มีความปวดขณะทำแผลมากที่สุด กํารเลือกใช้อุปกรณ์ทำแผล จึงควรขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล ควรรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
 
ที่มา
Nakhonphanom Hospital Journal ปี 2561, September-December ปีที่: 5 ฉบับที่ 3 หน้า 56-65
คำสำคัญ
pain, Dressing, Wound, Granulation, Negative pressure wound therapy, Gauze, sponge, swab