กระบวนการสร้างเสริมพลังอานาจชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อาเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
วรศิลป์ ผัดมาลา
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของพลังอำนาจชุมชน 2) สังเคราะห์กระบวนการ และ 3) ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา จากประชากรผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 138 คน แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และภาคีเครือข่าย และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบบวัดความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) และแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (QOL) จากกลุ่มผู้สูงอายุ 2) การสังเคราะห์รูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม และ 3) การศึกษาผลการดำเนินงานโดยเปรียบก่อนและหลังดำเนินการ จากข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้เครื่องมือ วิเคราะห์ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired samples t-test ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของพลังอำนาจชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงพบว่า มีการดำเนินการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในสถานพยาบาลและในชุมชน ครอบคลุม 4 มิติ คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสภาพ แต่ยังไม่มีรูปแบบการบูรณาการระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ผลการสังเคราะห์รูปแบบโดยใช้หลัก PDCA ซึ่งแบ่ง 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน (PLAN) ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนการดำเนินงานโดยชุมชน 2) ขั้นปฏิบัติการ (DO) ด้วยการสนับสนุนของภาคีเครือข่าย และการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน 3) ขั้นติดตามประเมินผล (CHECK) โดยการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  มีการสังเกตการณ์ดำเนินกิจกรรมของชุมชน และเยี่ยมเสริมพลังในชุมชน และ 4) ขั้นปรับปรุงโดยการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ของแต่ละชุมชน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่าย และชุมชนต่าง ๆ สำหรับผลของการประเมินคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงก่อนและหลังดำเนินการพบว่ามีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=.001) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งก่อนและหลังดำเนินการ และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=.002)  ข้อเสนอแนะ การดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเป็นการดูแลระยาวและต้องต่อเนื่องสม่ำเสมอโดยทีมสุขภาพที่มีคุณภาพ ชุมชนต้องมีการรับรู้ในศักยภาพและความสามารถของตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยได้รับการเสริมแรงจากภาคีเครือข่าย
 
ที่มา
Academic Journal of Community Public Health ปี 2562, October-December ปีที่: 5 ฉบับที่ 4 หน้า 96-111
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, Long-Term Care, การดูแลระยะยาว, Dependent Older People, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง