ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม กับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิมในผู้ป่วยข้อไหล่ติด ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ธีรภัทร์ รักษาพลงานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม กับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิมในผู้ป่วยข้อไหล่ติด
รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design) แบบวิธีการสุ่ม ในผู้ป่วยข้อไหล่ติดที่ได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด ที่งานกายภาพบำบัด ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 30 เมษายน 2564 จำนวน 22 คน ใช้ชุดการสอนโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ วัดผลลัพธ์ด้วยแบบประเมินดรรชนีความเจ็บปวดและสมรรถภาพของหัวไหล่ แบบประเมินความปวด แบบบันทึกค่าช่วงการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ผลการศึกษา : ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนดรรชนีความเจ็บปวดและสมรรถภาพของหัวไหล่น้อยกว่ากลุ่มควบคุม -17.53 คะแนน (95% CI : -29.59, -5.46) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.007) มีคะแนนความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม -2.10 คะแนน (95% CI : -3.31, -0.89) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.002) และมีช่วงการเคลื่อนไหวแบบ Active ในท่า abduction กลุ่มทดลองมีมากกว่ากลุ่มควบคุม 19.60 องศา (95% CI : 0.79, 38.41) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.042)
สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่นี้ สามารถลดอาการปวด เพิ่มสมรรถภาพของหัวไหล่ และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในท่า abduction ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม สามารถนำไปประยุกต์ให้ผู้ป่วยใช้ที่บ้านได้
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี 2564, September-December
ปีที่: 18 ฉบับที่ 3 หน้า 27-39
คำสำคัญ
effectiveness, ประสิทธิผล, Exercise, ออกกำลังกาย, Frozen shoulder, กายภาพบำบัด, Physiotherapy, stabilization, ความมั่นคง, ข้อไหล่ติด