ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้วยสติและการสนับสนุนของครอบครัวในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้: การวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
นิตยา สุขชัยสงค์, ปาหนัน พิชยภิญโญ*, สุนีย์ ละกำปั่น, Laura R. Saslow, James E. Aikensภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ E-mail: panan.pic@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำเป็นต้องจัดการกับภาวะโรคด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืนและการฝึกสติอาจเป็นวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการจัดการโรคได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานด้วยสติร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อค่าน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งโปรแกรมนี้พัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 15 คนและสมาชิกครอบครัว การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมนี้ทำการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึง เดือนมีนาคม 2562 โดยใช้รูปแบบการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและทักษะพฤติกรรมร่วมกับวิธีการฝึกสติเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนากิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และรับการรักษาด้วยยาจำนวน 80 คนและถูกสุ่มเข้าเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (40 คน) หรือเข้ากลุ่มทดลอง (40 คน) ที่ได้รับโปรแกรมที่มีกิจกรรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองและการฝึกสติขณะรับประทานอาหาร ทำการประเมินค่าน้ำตาลสะสมในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด การรับประทานอาหารด้วยสติ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับประทานอาหารการออกกำลังกายและ ความร่วมมือในการรับประทานยา ในสัปดาห์แรก สัปดาห์ที่ 12 และ สัปดาห์ที่ 16 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ANCOVA, Repeated Measures ANOVA and Independent t-test
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีระดับน้ำตาลในเลือด ค่าน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง มีการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม เพิ่มการออกกำลังกาย เกิดความร่วมมือในการรับประทานยา การรับประทานอาหารอย่างมีสติ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในสัปดาห์ที่ 12 และสัปดาห์ที่ 16ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์แรกและกลุ่มควบคุม พยาบาลควรได้รับการฝึกการดำเนินกิจกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวาน การศึกษาครั้งต่อไปควรเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในชุมชนด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่สำหรับการดูแลสุขภาพ
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2565, July-September
ปีที่: 26 ฉบับที่ 3 หน้า 517-532
คำสำคัญ
Thailand, Diabetes, โรคเบาหวาน, ประเทศไทย, Information, SELF-MANAGEMENT, การจัดการตนเอง, mindfulness, Behavioral skills, Glycated hemoglobin, Motivation, ทักษะพฤติกรรม, ข้อมูล, ค่าน้ำตาลสะสมในเลือด, การมีสติ, แรงจูงใจ