การให้ยาไอบูโพรเฟนกินเพื่อป้องกัน Symptomatic Patent Ductus Arteriosus ในทารกก่อนกำหนด
กอบธัม สถิรกุล, ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน, ชาญชัย รักษาสินบริสุทธิ์, มิรา โครานา, วราภรณ์ แสงทวีสิน*, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์Neonatal Unit, Department of Pediatrics, Queen Sirikit National Institute of Child Health, Bangkok 10400, Thailand. E-mail: vseangtawesin@hotmail.com
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: มีการศึกษาถึงการใช้ยาไอบูโพรเฟนกินเพื่อรักษาผู้ป่วยที่เป็น symptomatic PDA ในทารกก่อนกำหนดพบว่าได้ผลเช่นเดียวกับยาอินโดเมทธาซิน แต่การใช้ยาไอบูโพรเฟนกินเพื่อป้องกัน symptomatic PDA ยังมีการศึกษาน้อยวัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ยาไอบูโพรเฟนกินเพื่อป้องกัน symptomatic PDA ในทารกก่อนกำหนด 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ของยาไอบูโพรเฟนกินในการป้องกัน symptomatic PDA ในทารกก่อนกำหนดวัสดุและวิธีการ: Randomized, single-blinded, controlled study ทารกก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิด < 1,500 กรัม ที่รับไว้ ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีในระหว่าง กรกฎาคม พ.ศ. 2546 - เมษายน พ.ศ. 2547 ทารกในกลุ่มศึกษาจะได้รับยาจริง กลุ่มควบคุมจะได้รับยาหลอก ทารกทุกรายจะได้รับยา 3 ครั้งห่างกันทุก 24 ชั่วโมง ประเมินอาการทางคลินิกทารกจนถึงอายุ 28 วัน การตรวจ Echocardiogram จะทำก่อนให้ยาและหลังคลอด วันที่3 และวันที่ 7ผลการศึกษา: ทารกในกลุ่มศึกษามีจำนวน 22 ราย กลุ่มควบคุม มี 20 ราย ทารกทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างในด้านข้อมูลระบาดวิทยา ทารกกลุ่มศึกษามีอุบัติการณ์ของ symptomatic PDA น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (0/22 vs 5/20, p = 0.015 ในวันที่ 3 และ 0/22 vs 6/20, p = 0.006 on day 7) พบอาการไม่พึงประสงค์ในทารกสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน การศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์พบว่ามีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างมาก ค่า Cmax ใกล้เคียงกับในผู้ใหญ่ แต่ค่า Tmax and T1/2 ในทารกก่อนกำหนดมีค่ามากกว่าสรุป: การให้ยาไอบรูโพรเฟนกินสามารถลดอุบัติการณ์ของ symptomatic PDA โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, March
ปีที่: 89 ฉบับที่ 3 หน้า 314-321
คำสำคัญ
Oral ibuprofen, Patent ductus arteriosus, Preterm