การวางประคบเย็นบริเวณหน้าท้องส่วนล่างหลังคลอดทารกเพื่อลดการสูญเสียเลือดในมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด: การศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบ
ฐปนพ ธนสมทบชนมน*, สาธิดา จันทนวิลัย, ภัทรพร ตั้งกีรติลัยDepartment of Obstetrics and Gynecology of Khon Kaen Hospital, Khon Kaen 40000, Thailand; E-mail: doctorthapanop@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการวางประคบเย็นบริเวณหน้าท้องส่วนล่างหลังคลอดทารกจนถึง 2 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อลด การสูญเสียเลือด
วัสดุและวิธีการ: สตรีตั้งครรภ์เดี่ยวครบกำหนดคลอดทางช่องคลอดที่โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน 2563 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 60 ราย ถูกแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยวิธีการสุ่มกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับการประคบเย็นที่บริเวณหน้าท้องส่วนล่างหลังคลอดทารกจนถึง 2 ชั่วโมงหลังคลอด การวัดปริมาณเลือดทำได้ โดยการคำนวณนํ้าหนักจากถุงตวงเลือด และผ้าอนามัยที่ใช้ใส่ซับเลือดก่อนและหลังการใช้ รวมถึงสังเกตการได้รับเลือดภาย หลังคลอด ผลข้างเคียงของการประคบเย็นและอาการปวดท้องหลังคลอด
ผลการศึกษา: ลักษณะพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างมีลักษณะไม่แตกต่างกัน ปริมาณการสูญเสียเลือดในกลุ่มทดลองน้อยกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (กลุ่มทดลองค่าเฉลี่ยเท่ากับ 183.87 มิลลิลิตร, กลุ่มควบคุมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 271.36 มิลลิลิตร, ผลต่างค่าเฉลี่ยเท่ากับ 87.50 มิลลิลิตร, ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ - 134.62 ถึง - 40.37, p < 0.001) ไม่พบ อุบัติการณ์ของการตกเลือดหลังคลอด การได้รับเลือดหลังคลอดหรืออาการข้างเคียงจากการประคบเย็นในกลุ่มตัวอย่างและไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับความปวดบริเวณช่องท้องหลังคลอด
สรุป: การวางประคบเย็นบริเวณหน้าท้องส่วนล่างหลังคลอดทารกจนถึง 2 ชั่วโมงหลังคลอด สามารถลดปริมาณการสูญเสีย เลือดได้อย่างมีประสิทธิผลเปรียบเทียบกับการคลอดทารกทางช่องคลอดปกติ และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2565, May-June
ปีที่: 30 ฉบับที่ 3 หน้า 162-168
คำสำคัญ
Blood loss, vaginal delivery, cold pack compression, การวางประคบเย็น, การคลอดทารกทางช่องคลอด, การสูญเสียเลือด