คุณภาพชีวิตหลังได้รับการรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงช่องคลอดเปรียบเทียบกับการผ่าตัดในผู้ป่วยไทยที่มีอุ้งเชิงกรานหย่อน
ศุภกิตต์ ปัญจพงษ์, ประนอม บุพศิริ, โฉมพิลาศ จงสมชัย, ธีระยุทธ เต็มธนะกิจไพศาล*
Department of Obstetrics and gynaecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand; E-mail: jacktemtanakitpaisan@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยไทยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนหลังได้รับการรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงช่องคลอดกับการผ่าตัดโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต P-QOL ฉบับภาษาไทย
วัสดุและวิธีการ: สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีระดับอุ้งเชิงกรานหย่อนระดับเดียวกัน ได้รับรักษาโดยใช้อุปกรณ์พยุงทางช่องคลอด หรือผ่าตัด กลุ่มละ 40 คน จากคลินิกนรีเวชทางเดินปัสสาวะระหว่างเดือนมกราคม 2561 ถึงสิงหาคม 2562 ด้วยแบบสอบถามคุณภาพชีวิต P-QOL ฉบับภาษาไทย ทั้งก่อนรับการรักษา และหลังการรักษาที่ 3 เดือนและ 6 เดือน
ผลการศึกษา: อายุเฉลี่ยและนํ้าหนักเฉลี่ยของผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ที่ 65.7 ± 7.7 ปี และ 24.9 ± 3.7 กิโลกรัม/เมตร2 หลังรับการทั้งสองกลุ่มมีคุณภาพชีวิต (P-QOL) ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งใน 3 เดือนและ 6 เดือน ยกเว้นหมวดความสัมพันธ์ส่วนบุคคลและหมวดคุณภาพชีวิตการนอน/พลังในการทำงาน หลังรับการผ่าตัดเมื่อเทียบกับการใส่อุปกรณ์พยุงช่องคลอด คุณภาพชีวิตในหมวดสุขภาพทั่วไปและหมวดคุณภาพชีวิตการนอน/พลังในการทำงานดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งใน 3 เดือน (p = 0.01 และ 0.023 ตามลำดับ) และ 6 เดือน (p = 0.024 และ 0.007 ตามลำดับ) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจหลังรับการรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงช่องคลอด และการผ่าตัดที่ 3 เดือน (8.9 ± 1.4 และ 9.3 ± 1.0 (p = 0.509)) และ 6 เดือน (9.4 ± 1.2 และ 9.3 ± 1.1 (p = 1.000)) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
สรุป: หลังการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนด้วยอุปกรณ์พยุงช่องคลอดหรือได้รับการผ่าตัดพบว่ามีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีความพึงพอใจอย่างมากหลังการรักษาทั้งสองกลุ่ม
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2565, March-April ปีที่: 30 ฉบับที่ 2 หน้า 128-135
คำสำคัญ
Quality of life, surgery, คุณภาพชีวิต, Pelvic organ prolapse, คุณภาพชี่วิต, Pessary, การผ่าตัด, ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน, อุปกรณ์พยุงช่องคลอด