การใช้แผ่นแปะร้อนบริเวณหลังส่วนล่างเพื่อบรรเทาอาการปวดในช่วงระยะแรกของการเจ็บครรภ์คลอดจริง: การทดลองแบบสุ่ม
ชนากานต์ สุทธิสุนทรวงศ์*, ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา
Department of Obstetrics and Gynecology, Khon Kaen Hospital, Khon Kaen 40000, Thailand; E-mail: pre.cnk@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แผ่นแปะร้อนเพื่อลดอาการปวดในช่วงเวลาปากมดลูกเปิดเร็วของการ คลอดระยะที่หนึ่ง
วัสดุและวิธีการ: หญิงตั้งครรภ์เดี่ยวจำนวนห้าสิบแปดคน ที่จะคลอดบุตรโดยวิธีธรรมชาติในโรงพยาบาลขอนแก่นระหว่าง วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ถึง 30 พฤษภาคม 2563 ได้รับการสุ่มออกเป็นสองกลุ่ม: กลุ่มแปะแผ่นร้อน และกลุ่มดูแลตามมาตรฐาน แผ่นแปะร้อนใช้บริเวณหลังส่วนล่าง (เดอร์มาโทม T10 ถึง L1) เริ่มที่ปากมดลูก 4-6 เซนติเมตร จนปากมดลูกเปิดขยาย หมด คะแนนความเจ็บปวดถูกบันทึกก่อนการใช้แผ่นแปะร้อน และทุกๆ ชั่วโมง จนสิ้นสุดระยะแรกของการเจ็บครรภ์คลอด
ผลการศึกษา: ลักษณะพื้นฐานประชากรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองกลุ่ม (p > 0.2) คะแนนความเจ็บ ปวดเฉลี่ยของกลุ่มแผ่นแปะร้อนน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ชั่วโมง ตามลำดับ (4.4 ± 1.9 และ 6.4 ± 1.8, 5.6 ± 2.2 และ 7.4 ± 1.3, 5.4 ± 1.8 และ 8.1 ± 0.8, 5.7 ± 2.2 และ 8.4 ± 0.7, 8.0 ± 0.0 และ 8.7 ± 0.5, p < 0.001 ตามลำดับ) ระยะเวลาเฉลี่ยของช่วงปากมดลูกเปิดเร็วของการคลอดระยะที่หนึ่งในกลุ่มแปะแผ่นร้อนน้อยกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (138.5 ± 63.1 และ 222.7 ± 82.3, p < 0.001) และไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
สรุป: การใช้แผ่นแปะร้อนบริเวณหลังส่วนล่างช่วยบรรเทาอาการปวดในช่วงระยะแรกของการเจ็บครรภ์คลอดได้อย่างมีนัยสำคัญ
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2565, March-April ปีที่: 30 ฉบับที่ 2 หน้า 109-119
คำสำคัญ
labor pain, hot patch, non-pharmacologic, แผ่นแปะร้อน, การบรรเทาอาการปวดที่ไม่ใช้ยา, ภาวะเจ็บครรภ์คลอด