ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา สาหรับผู้ป่วยสูงอายุ: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม
พีรดา เกตุวีระพงศ์*, ชิดชนก เรือนก้อน, กนกพร นิวัฒนนันท์
ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมต่อความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาสาหรับผู้ป่วยสูงอายุ วิธีการศึกษา: การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมโดยใช้ Screening tool of older people’s prescriptions (STOPP) criteria version 2 และ American Geriatrics Society (AGS) Beers Criteria หรือ Beers criteria 2015 เพื่อใช้พิจารณารายการยาที่อาจไม่เหมาะสม (potentially inappropriate medications; PIMs) ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและรับยาต่อเนื่องที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จานวน 234 ราย ถูกสุ่มเข้าไปในกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมหรือกลุ่มควบคุมที่ได้รับการบริการตามแนวทางปกติ เปรียบเทียบโอกาสในการเกิด PIMS โดยสถิติ multilevel logistic regression ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยทดสอบตัวแปรที่อาจรบกวนผลลัพธ์ด้วย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีโอกาสได้รับรายการยา PIMs น้อยกว่ากลุ่มควบคุมเป็น 0.22 เท่า (adjusted OR = 0.22, 95% CI: 0.06 - 0.78, P-value = 0.019) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุป : การบริบาลทางเภสัชกรรมต่อความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาสาหรับผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์โดยใช้ Beers criteria 2015 และ STOPP criteria version 2 ทาให้สามารถค้นหาและลดการสั่งใช้ยาที่เป็น PIMs ได้
 
ที่มา
ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ (ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร) ปี 2565, April-June ปีที่: 17 ฉบับที่ 2 หน้า 176-182
คำสำคัญ
elderly, ผู้สูงอายุ, Pharmaceutical care, การบริบาลทางเภสัชกรรม, potentially inappropriate medications, Beers criteria, STOPP criteria, การสั่งยาที่ไม่เหมาะสม