ผลของการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่ต่อต้นทุนต่อหน่วยบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในช่วงที่พบอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
บุญมี แก้วจันทร์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
บทคัดย่อ
ความเป็นมา:กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายปรับระบบบริการทางการแพทย์แบบชีวิตวิถีใหม่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงราย จึงได้เริ่มปรับรูปแบบการบริการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2563จึงอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อต้นทุนต่อหน่วยบริการได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงราย ก่อนและระหว่างการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประเมินผล (evaluation research) ก่อนและระหว่างการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่ในช่วงที่พบอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยทําการวิเคราะห์ต้นทุน (cost analysis) และเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 100 แห่ง โดยการสุ่มแบบมีชั้นภูมิ (stratified random sampling) โดยรวบรวมข้อมูลต้นทุนจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2563วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบโดยใช้สถิติไร้พารามิเตอร์ The Wilcoxon Matched PairsSigned-Ranks Test
ผลการศึกษา: ต้นทุนต่อหน่วยบริการ ต้นทุนดําเนินงาน ต้นทุนโดยตรง และต้นทุนรวมโดยตรง ก่อนและระหว่างการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่พบว่าค่ามัธยฐานต้นทุนไม่มีความแตกต่างกัน มีเพียงต้นทุนโดยอ้อมเท่านั้นพบว่ามีค่ามัธยฐานแตกต่างกันในทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.009)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ในภาพรวมต้นทุนต่อหน่วยบริการก่อนและระหว่างการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ยกเว้นต้นทุนโดยอ้อมเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ดังนั้นการวางแผนด้านงบประมาณในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในช่วงที่มีการจัดบริการรูปแบบชีวิตวิถีใหม่จึงควรจัดงบประมาณเพิ่มเติมในหมวดต้นทุนโดยอ้อมในการสนับสนุนบริการ อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 2.2 แสนบาท/สถานบริการ
 
ที่มา
เชียงรายเวชสาร ปี 2564, ปีที่: 13 ฉบับที่ 3 หน้า 1-15
คำสำคัญ
Unit cost, ต้นทุนต่อหน่วยบริการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, new normal medical service, Tumbon health promoting hospital, coronavirus disease 2019, บริการแบบชีวิตวิถีใหม่, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.